ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิด ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
ปัจจัยพื้นฐานในการดูแลตนเอง , ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก , พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 126 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช เท่ากับ 0.87, 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานระดับปานกลาง (M = 103.02, SD = 12.32) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.588, p < .001) ส่วนปัจจัยพื้นฐานด้านอื่นๆ ได้แก่ อายุ ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ และความเครียดจากการทำงาน ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ ผลการวิจัยสนับสนุนการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานเพื่อการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันการเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานที่เหมาะสม
References
Yothikun K, Prabpai S. Factors associated with musculoskeletal disorder prevention behaviors in professional nurse. Vajira Nursing Journal 2018;20(1):27-39. (in Thai)
Sinsongsook T. The prevalence and work related factors of musculoskeletal complaints among nursing personnel in King Chulalongkorn memorial hospital [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2004. (in Thai)
Rogers B. Health hazards in nursing and health care: an overview. Am J Infect Control 1997;25(3):248-61. doi: 10.1016/s0196-6553(97)90012-2
Amin NA, Nordin RB, Noah R, Oxley JA, Kia Fatt QK. Work related musculoskeletal disorders in female nursing personnel: prevalence and impact. IJCRIMPH 2016;8(3):294-315.
Chiwaridzo M, Makotore V, Dambi JM, Munambah N, Mhlanga M. Work-related musculoskeletal disorders among registered general nurses: a case of a large central hospital in Harare, Zimbabwe. BMC Res Notes 2018;11(1):315. doi: 10.1186/s13104-018-3412-8.
Passali C, Maniopoulou D, Apostolakis I, Varlamis I. Work-related musculoskeletal disorders among Greek hospital nursing professionals: a cross-sectional observational study. Work 2018;61(3):489-98. doi: 10.3233/WOR-182812
Kantiya N. Work-related musculoskeletal disorders and related factors among professional nurses [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2009. (in Thai)
Heidari M, Borujeni MG, Rezaei P, Kabirian Abyaneh S. Work-related musculoskeletal disorders and their associated factors in nurses: a cross-sectional study in Iran. Malays J Med Sci 2019;26(2):122-30. doi: 10.21315/mjms2019.26.2.13.
Wongthanakit S, Tongvichean S, Kalampakorn S, Kaewboonchoo O. Factors related to low back pain preventive behaviors among nurses in governmental hospitals, Nonthaburi Province. Thai Journal of Public Health 2005;35(2):109-18. (in Thai)
Opastiragul W, Chanprasit C, Kaewthummanukul T. Health status related to risk at work among professional nurses, out patient and emergency nursing section, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Nursing Journal 2015;42(2):49-61. (in Thai)
Khampisut J. Health literacy and health promotion behaviors of students in Naresuan University. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University 2018;24(1):67-78. (in Thai)
Orem DE. Nursing: concepts of practices. 3rd ed. New York: McGraw-Hill; 1985.
Auetian J. Factors related to low back pain prevention among home-based sewers [Thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2002. (in Thai)
Polit F, Beck K. Nursing research: principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.
Department of Mental Health. ST5 [Internet]. 2021 [cited 2019 Dec 6]. Available from: https://www.dmh.go.th/test/qtest5/. (in Thai)
Thungjaroenkul P, Swaengdee K, Theerawit T, Tungcharoensathien V. Health problems and health care behaviors among registered nurses in Thailand. Journal of Health Systems Research 2015;9(1):49-60. (in Thai)
Orem DE. Nursing: concepts of practices. 4th ed. St. Louis: Mosby Year; 1991.
Chummalee I. Relationship between health literacy and health behaviors of pharmacy students, Mahasarakham University. Journal of Safety and Health 2020;13(1):126-37.
Aungsirikul S, Pakdevong N, Binhosen V. Factors related to health promotion behaviors in Patients with low back pain. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2016;24(1):39-50. (in Thai)
Dilokkunanant T. Work related stress, social support, and resilience among emergency nurses working in unrest areas of the southern border provinces [Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2017. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย