อิทธิพลของการดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่มีต่อการรับรู้ความปลอดภัยในโรงพยาบาลของผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กุลวดี อภิชาติบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นาตยา คำสว่าง โรงพยาบาลพุทธชินราช
  • วิทวดี สุวรรณศรวล โรงพยาบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

การดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง, ความปลอดภัยในโรงพยาบาล, การพยาบาล

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยในโรงพยาบาล ความสัมพันธ์และอิทธิพลของการดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่มีต่อการรับรู้ความปลอดภัยในโรงพยาบาลของผู้ป่วย โดยทำการเก็บข้อมูลกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์ ภาคเหนือ 2 แห่ง  จำนวน 288 คน ใช้เครื่องมือ Consultation Care Measure ของลิตเติ๊ลและคณะ (2001) และแบบวัด Patient Measure of Safety ของ แมคอาชานและคณะ (2014) ที่ได้แปลเป็นภาษาไทยและมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และ 0.87 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ สถิติถดถอยแบบนำเข้าทั้งหมด

              ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 64.3 ของผู้ป่วยทั้งหมดรับรู้ว่าโรงพยาบาลมีความปลอดภัยมาก และการดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ความปลอดภัยในโรงพยาบาล โดยการดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  ในด้านการติดต่อสื่อสารและความเป็นหุ้นส่วน 

การดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และจำนวนครั้งที่นอนโรงพยาบาลมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความปลอดภัยในโรงพยาบาลของผู้ป่วย

               จากผลการศึกษานี้ผู้บริหารโรงพยาบาลควรมีการพัฒนาให้ผู้ให้บริการมีทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยดีขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมาเป็นหุ้นส่วนในกระบวนการรักษาพยาบาลและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย อันจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและรู้สึกปลอดภัยขณะอยู่ในโรงพยาบาล

 

 

References

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). HA update 2009. Nonthaburi: The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization); 2009. (in Thai)

Maslow A. Motivation and personality. New York: Harper and Row Publishers; 1954.

Thiangchanya P, Peeravud J, Thanapattaraporn M, Ramkeaw K. Nurses’ role in enhancing patient engagement in safety. Songklanagarind J Nurs 2016;36(3):247-60. (in Thai)

McEachan RR, Lawton RJ, O'Hara JK, Armitage G, Giles S, Parveen S, et al. Developing a reliable and valid patient measure of safety in hospitals (PMOS): a validation study. BMJ Qual Saf 2014;23(7):565-73.

Suphatrakul W, Sakdasirorat A, Rattanadumrongaksorn D. Quality service development in outpatient department, Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. FEU Academic Review 2016;10(4),234-47. (in Thai)

Committee on Hospital Care. American Academy of Pediatrics. Family-centered care and the pediatrician's role. Pediatrics [Internet]. 2003 [cited 2019 Jan 19];112(3 Pt 1):691-7. Available from: https://pediatrics.aappublications.org/content/pediatrics/112/3/691.full.pdf

Little P, Everitt H, Williamson I, Warner G, Moore M, Gould C, et al. Preferences of patients for patient-centred approach to consultation in primary care: observational study. BMJ 2001;322(7284):468-72.

Rathert C. Patient-centered care, work climates and patient safety: an exploratory study [dissertation]. Lincoln, NE: University of Nebraska; 2005.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th ed. Harlow Essex: Pearson Education Limited 2014.

McDonald SM. Perception: a concept analysis. Int J Nurs Knowl 2012;23(1): 2-9.

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Hospital and healthcare standards. 4th ed. Nonthaburi: The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization); 2019. (in Thai)

Santiprasitkul S, Junlapeeya P, Boonyapak P, Srimanthayamas V. Patient safety culture: perception of state hospital nurses. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2019;20(2):238-9. (in Thai)

Coulter A, Ellins J. Patient focused interventions: a review of evidence in quest for quality and Improved Performance (QQUIP). London: The Health Foundation; 2006.

Tabler M, Scammon M, Debra L, Kim J, Farrell T, Cotisel AT, Magill MK. Patient care experiences and perceptions of the patient-provider relationship: a mixed method study. Patient Experience Journal 2014;1(1):75–87.

Mollon D. Feeling safe during an inpatient hospitalization: a concept analysis. J Adv Nurs 2014;70(8):1727-37.

Mitchell MK. A concept analysis of uncertainty in illness. J Nurs Scholarsh 2002;34(2):127-31.

Entwistle VA, Quick O. Trust in the context of patient safety problems. J Health Organ Manag 2006;20(5):397-416.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-10