การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณฤดี ภู่ทอง สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10330
  • อัญชลี งามวิทย์โรจน์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10330

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ , สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ โดยประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของคณะผู้สอนและผู้เข้าศึกษาอบรม และประเมินสมรรถนะก่อน-ภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรมทันที และระยะติดตามหลังสำเร็จการศึกษาอบรมครบ 3 เดือน ตามความคิดเห็นของคณะผู้สอน 11 คน ผู้เข้าศึกษาอบรม ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน กลุ่มละ 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้งสิ้น 101 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและสมรรถนะผู้เข้าศึกษาอบรม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (IOC) มีค่าเท่ากับ 0.85 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว

ผลการศึกษาวิจัย

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของคณะผู้สอนภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรมทันที ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (𝑥̅ = 4.56, SD = 0.51) อยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่ผู้เข้าศึกษาอบรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรมทันที พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความพร้อมและความเหมาะสมของหลักสูตร (𝑥̅ = 4.38, SD = 0.54) อยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างหลักสูตร (มาตรวัด 3 ระดับ) พบว่า ทั้งคณะผู้สอน (𝑥̅ = 2.00, SD = 0.00) และผู้เข้าศึกษาอบรม (𝑥̅ = 2.17, SD = 0.08) มีความคิดเห็นว่าโครงสร้างของหลักสูตรมีความเหมาะสมแล้ว ทั้งจำนวนหน่วยกิตและจำนวนชั่วโมงในการเรียนการสอน

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้เข้าศึกษาอบรมก่อน-ภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรมทันทีและระยะติดตามหลังสำเร็จการศึกษาอบรมครบ 3 เดือน พบว่า ระยะก่อนเข้าศึกษาอบรมค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับน้อย (𝑥̅ = 2.13, SD = 0.69) ภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรมทันทีและระยะติดตามหลังสำเร็จการศึกษาอบรมครบ 3 เดือน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.09, SD = 0.65) และ (𝑥̅ = 4.37, SD = 0.39) ตามลำดับ การประเมินภายหลังสำเร็จการศึกษาทันที คณะผู้สอนมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.44, SD = 0.53) กับความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ก่อนเข้าศึกษาอบรมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅ = 2.05, SD = 0.60) และ (𝑥̅ = 1.61, SD = 0.68) ตามลำดับ และอยู่ในระดับน้อย ระยะติดตามหลังสำเร็จการศึกษาอบรมครบ 3 เดือน ค่าเฉลี่ยรวม (𝑥̅ = 4.40, SD = 0.47 และ 𝑥̅ = 4.46, SD = 0.45) ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้เข้าศึกษาอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะของตนเองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 215.15, p < .001) แสดงถึงผู้เข้าศึกษาอบรมมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นหลังได้รับการศึกษาอบรม

References

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement criteria for the preparation of training courses nursing specialty and curriculum management [Internet]. 2014 [cited 2023 Dec 22]. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/H007.pdf (in Thai)

Kanchanawasi S. Evaluation of the 5-year bachelor of education program of the Faculty of Education, Chulalongkorn University and recommendations for the 6-year program. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University; 2013. (in Thai)

Office of the Secretariat of the National Education Council. National education plan 2017- 2036. Bangkok: Sweet Pepper Graphic; 2017. (in Thai)

Donabedian A. Evaluating the quality of medical care. Milbank Q 2005;83(4):691-729. doi: 10.1111/j.1468-0009.2005.00397.x.

Sompong P. An evaluation of training program of nursing specialty in nurse practitioner (primary medical care) Faculty of Nursing, Srinakharinwirot University [Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2014. (in Thai)

Anansawat S, Chularee S, Sianun C. Curriculum evaluation for Bachelor of Nursing Science, School of Nursing, Suranaree University of Technology. Journal of Nursing and Health Research 2017;18(1):92-103. (in Thai)

Singchangchai P. Principles and using multivariate statistics analysis for nursing research. 3rd ed. Songkhla: Chanmueng Printing; 2006. (in Thai)

Sutthirat C. Theory to practice curriculum development. Nonthaburi: MD All Graphics; 2021. (in Thai)

Pianpetlert S. Curriculum evaluation concepts and guidelines. Bangkok: Chulalongkorn University; 2018. (in Thai)

Boonrappayap B, Pantaewan P, Prasittivatechakool A, Pumsanguan K, Sanee A, Prajankett O. The evaluation of the program in nursing specialty in nursing practitioner (Primary Medical Care), Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(1):107-13. (in Thai).

Akathin S, Ounjaichon S, Siripukdeekan C. An evaluation of nursing specialty program in nursing administration, revised 2015, The Royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2021;22(2):417-25. (in Thai)

Suttineam U, Teerawatskul S, Vibulwong P. An evaluation of the nurse specialty program in emergency nursing Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(3):145-57. (in Thai)

Panpanit L, Thiengtham S, Kumniyom N, Sommongkol S, Leethong-in M, Banharak S, et al. Gerontological nurse practitioner competencies among nurses who completed the nursing Specialty training in gerontological nurse practitioner class 1. Journal of Nursing Science & Health 2018;41(3):77-86. (in Thai)

Fukada M. Nursing competency: definition, structure, and development. Yonago Acta Med 2018;61(1):1-7. doi: 10.33160/yam.2018.03.001.

Thananan S. Human resources development. 3rd ed. Bangkok: TPN press; 2008. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28