ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสะท้อนคิด ต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาล และระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • สุพัตรา ไตรอุดมศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ปรียสลิล ไชยวุฒิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

สะท้อนคิด, แบบบันทึกการสะท้อนคิด, ทักษะการปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group pretest- posttest design โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสะท้อนคิด ต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาลและระดับความพึงพอใจของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช ในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิค

ทางการพยาบาล ก่อนและหลังการจัดเรียนการสอน จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนด้วยวิธีสะท้อนคิด 2) แบบบันทึกการสะท้อนคิด 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการพยาบาล 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ pair t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการเรียนด้วยวิธีสะท้อนคิด นักศึกษามีทักษะการปฏิบัติการพยาบาลในทุกด้านสูงกว่าก่อนเรียน โดยทักษะการดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ สูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยเพิ่มจาก 6.88 เป็น 8.71 ทักษะการสวนปัสสาวะแบบค้างสายสวน คะแนนเฉลี่ยเพิ่มจาก 6.84 เป็น 9.30 และทักษะการให้สาร

น้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ สูงขึ้นจากก่อนเรียน 6.48 เป็น 8.12 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยวิธีสะท้อนคิด มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X¯ 4.49,S.D. 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X¯ 4.60, S.D. 0.42) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียน (X¯ 4.46, S.D. 0.41) และด้านบรรยากาศ (X¯ 4.42, S.D. 0.46)

References

1. อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก, ยศพล เหลืองโสมนภา.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค
การสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11(2): 105-115.
2. Gibbs, G. Learning by doing: A guide to teaching learning methods. Oxford: Oxford
Brookes University; 1988.
3. ปิยาณี ณ นคร, ดนุลดา จามจุรี, ดรุณี ชุณหะวัต, มนัส บุญประกอบ. การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาล. ว.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2559; 22(2): 206-221.
4. วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. ผลการจัดการเรียนการ สอนโดยใช้กิจกรรมการเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแนว
จิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาศิลปะการสอน. ว.ราชพฤกษ์ 2560; 15(2): 27-34.
5. Schon DA. The reflective practitioner: How professionals think in action. New York:
Basic Books; 1984.
6. กนกนุช ชื่นเลิศสกุล.การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด:การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาล
ในคลินิก. ว. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2544; 9(2): 35-48.
7. เชษฐา แก้วพรหม. การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียน
รู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. ว. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2556; 24(2): 12-20.
8. Sherwood GD, Deutsch SH. Reflective practice: Transforming education and improving
outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International; 2014.
9. กรรณิกา วิชัยเนตร. การสะท้อนคิด: การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล. ว.พยาบาลตำรวจ 2557; 6(2): 188–199.
10. ลำเจียก กำธร, จิณัฐตา ศุภศรี, ฐาปนี อัครสุวรรณกุล. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต.ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1): 15-27.
11. สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, ศิริวรรณ ผูกพัน.การบูรณาการวิธีการสอนภาคปฏิบัติต่อความรู้ระดับการสะท้อนคิด และทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ปีที่ 3 ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1. ว. มฉก.วิชาการ 2560; 20(40): 87-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31