ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี เนติเมธี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
  • ดวงเดือน ดวงสำราญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ทักษะด้านสติปัญญา, เจตคติต่อรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน, พฤติกรรมการเรียน, พฤติกรรมการสอนของอาจารย์, สิ่งที่สนับสนุนการเรียนการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์1

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 99 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัย คือ ทักษะด้านสติปัญญา เจตคติต่อรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมการเรียน พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และสิ่งที่สนับสนุนการเรียนการสอน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามแต่ละชุด เท่ากับ 0.82, 0.85,0.82, 0.88 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านสติปัญญากำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เจตคติต่อรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน และพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.032; p<0.001, r=0.045; p<0.001 และ r=0.031; p=0.008) ตามลำดับ สำหรับตัวแปรทักษะด้านสติปัญญา เจตคติต่อรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน และพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ได้ร้อยละ 35.20 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า อาจารย์ผู้สอนควรเพิ่มกลยุทธ์หรือวิธีการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นและพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน รวมทั้งสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

 

References

1. Ellis JR, Hartley CL. Nursing in today’s world: trends, issues, and management. 10thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
2. มงคล วิศิษฏ์สตัมภ์. มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพ: สำนักงานเลขานุการ กรมกองยุทธศาสตร์และความร่วมมืออาเซียน; 2558.
3. สำนักงานเลขาธิการศึกษา. สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2557-2558. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค; 2559.
4. ปุณยนุช พิมใจใส, นงนภัส วงษ์จันทร. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. ว.พยาบาลทหารบก 2561; 19(1): 154-163.
5. ชุติมา บูรณธนิต, นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ, ศรีสุดา เอกลัคนารัตน์, รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบหลากหลายในวิชาการพยาบาลมารดา ทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์. พิฆเนศวร์สาร 2562; 15(2): 175-186.
6. Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill Book; 1982.
7. สินีนาฏ หงส์ระนัย, นิรามัย อุสาหะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ว.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2555; 8(2): 77-89.
8. รณชัย คนบุญ, กัลยา ปังประเสริฐ, วันวิสาข์ ศิริวาท, จุฑามาศ นาไชยภูมิ. แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. ว.วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย 2563; 10(1): 147-155.
9. รุ่งฤดี กล้าหาญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ว.พยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 412-420.
10. กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2557; 7(4): 13-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30