ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • วิทวัส หาญอาษา กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลบึงกาฬ

คำสำคัญ:

คลอดก่อนกำหนด, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

            การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬ ทำการศึกษาเวชระเบียนในสตรีตั้งครรภ์ทุกรายที่มาคลอดที่โรงพยาบาลบึงกาฬ ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 นำเสนอด้วยข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงโดยใช้ multiple logistic regression กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.05

            ผลการศึกษา: พบสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลบึงกาฬ จำนวน 850 ราย เป็นการคลอดก่อนกำหนด 79 ราย (9.29%) โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ มีภาวะน้ำคร่ำรั่วก่อนเจ็บครรภ์ (AOR=28.26, 95%CI 10.72-74.48, p<0.001) การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ (AOR=2.10, 95%CI 1.22-3.60, p=0.007)  มารดามีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม (AOR=4.34, 95%CI 1.40-13.47, p=0.011) การใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ (AOR=19.02, 95%CI 2.99-120.91, p=0.002) ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (AOR=4.76, 95%CI 2.09-10.88, p<0.001) ทารกมีภาวะโตช้าในครรภ์ (AOR=13.82, 95%CI 2.16-88.12, p=0.005) และภาวะรกเกาะต่ำ (p=0.009)

            สรุป: จากการศึกษายังพบปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดที่สามารถพัฒนาเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬได้ ควรมีการพัฒนาและรณรงค์ในเรื่องการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพและการใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ คัดกรองและให้ยาป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ เฝ้าระวังอาการคลอดก่อนกำหนดในมารดาที่มีรกเกาะต่ำและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม

References

World Health Organization. Preterm birth [internet]. WHO; 2018 [cited 2021 June 4 ]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth

Blencowe H, Cousens S, Oestergaard MZ, Chou D, Moller A-B, Narwal R, et al. National regional and worldwide estimates of preterm birth rates in the year 2010 with time trends since 1990 for doi selected countries: a systematic analysis and implications. Lancet 2012; 379(9832): 2162-72.

Beck S, Wojdyla D, Say L, Bertran AP, Meraldi M, Requejo JH, et al. The worldwide incidence of preterm birth: a systematic review of maternal mortality and morbidity. Bull World Health Organ 2010; 88(1): 31-8.

Kinpoon K, Chaiyarach S. The incidence and risk factors for preterm delivery in northeast Thailand. Thai J Obstet Gynaecol 2021; 29(2): 100-111.

Goldenberg RL, Culhane JF, Iams JD and Romero R. Epidemiology and causes of preterm birth. Lancet 2008; 371(9606): 75-84.

Chang YK., Tseng YT, Chen KT. The epidemiologic characteristics and associated risk factors of preterm birth from doi 2004 to 2013 in Taiwan. BMC pregnancy and childbirth 2020; 20(1): 201.

Maria do Carmo Leal, Ana Paula Esteves-Pereira, Marcos Nakamura-Pereira, Jacqueline Alves Torres, Mariza theme-Filha, Rosa Maria Soares Madeira Domingues, et al. Prevalence and risk factors related to preterm birth in Brazil. Reproductive health 2016; 13(suppl3): 127.

Alijahan R., Hazrati S., Mirzarahimi M., Pourfarzi F, Ahmadi Hadi P.. Prevalence and risk factors associated with preterm birth in Ardabil, Iran. Iran J Reprod Med 2014; 12(1): 47-56.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564. หน้า 244-259.

ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย. ฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ ควรฝากก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ [Internet]. กระทรวงสาธารณสุข. [cited 2022 February 21]. Available from: https://hpc9.anamai.moph.go.th/webupload/migrated/files/hpc9/n938_df1afe68b9df03814be919b973140495_article_20170110121603.pdf

สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, ธีระ ทองสง. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564. หน้า 325-344.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง. โรคโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564. หน้า 427-444.

สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, ธีระ ทองสง. ทารกโตช้าในครรภ์. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2564. หน้า 364-374.

World Health Organization. WHO recommendation on antenatal care for a positive pregnancy experience. WHO Library cataloguing-in-publication data 2016:1-3.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. ใน: แนวทางเวชปฏิบัติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2558. หน้า 15-41.

Cunningham F, Leveno K, Bloom S, Dashe J, Hoffman B, Casey B, et al. Williams Ob-stetrics. 25th ed. New York: Mcgraw-hill; 2018.

Robert R., Michael FG, Charles JL, Joshua AC, Thomas RM, Robert MS. Substance abuse in pregnancy. In Creasy and Resnik’s Maternal- fetal medicine. 8th ed, Philadelphia: Elsevier; 2019. p 1254-5.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ ใน: แนวทางเวชปฏิบัติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2558. หน้า 89-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30