ผลของโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการยศาสตร์ต่ออาการปวดและคุณภาพชีวิตของพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล

ผู้แต่ง

  • กุสุมา พจนา โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล, การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ, การยศาสตร์, พยาบาล, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ 1 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดและคุณภาพชีวิตของพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการปรับพฤติกรรมตามหลักการยศาสตร์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสิรินธร ที่มีอายุระหว่าง 21 – 60 ปี และปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลมานานกว่า 1 ปี จำนวน 52 ราย ศึกษาในช่วง กันยายน-พฤศจิกายน 2564 โดยอาสาสมัครตอบแบบคัดกรองกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยลตรวจร่างกายโดยแพทย์ ผู้ที่เป็นโรคบริเวณคอบ่าไหล่จะได้รับการฝึกโปรแกรมยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการยศาสตร์ ให้ปฏิบัติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโดยใช้มาตรวัดความปวดด้วยสายตา (Visual analogue scale) และแบบประเมินคุณภาพชีวิต SF-36V2 ซึ่งมีค่า Cronbach’s alpha coefficient 0.72-0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi– square test) การทดสอบที (Paired t-test) และ Wilcoxon signed ranks test

            ผลการวิจัย: พยาบาลมีภาวะกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล 36 คน จากพยาบาลผู้ตอบแบบคัดกรอง 52 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 23 – 59 ปี เฉลี่ย 35.0 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.7) อาการปวดมักเป็นที่บ่าไหล่ โดยมีระยะเวลาเป็นโรคที่ 1 สัปดาห์ถึง 6 เดือนหลังจากเข้าโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและปรับพฤติกรรมตามหลักการยศาสตร์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ มาตรวัดปวด VAS ลดลง (p<.001) การเปรียบเทียบสุขภาพ ความปวดทางกายและความมีชีวิตชีวาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดย VAS ลดลงจาก 3.51 เป็น 1.39 คะแนนสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก43.42 เป็น 53.95 ความปวดทางกายดีขึ้นจาก 62.37 เป็น 72.37 ความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นจาก 60.26 เป็น 65.53 ปัจจัยเฉพาะบุคคลและปัจจัยแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการเป็น MPS คือการทำงานพยาบาลนานกว่า 5 ปี และการทำงานบ้านน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

            สรุป: โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการปรับพฤติกรรมตามหลักการยศาสตร์ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตในบางมิติ ในพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล

 

References

Simons DG, Travell JG, Simons LS. General overview. In: Johnson E, editor. Travell and Simons’ myofascial pain and dysfunction: the trigger point manual. Vol. 1. Upper half of body. 2nd ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1998. p. 11-93.

อานนท์ พงศธรกุลพาณิช, พรฑิตา ชัยอำนวย, ไพจิตต์ อัศวบดี, อุรุยา ก้องเกียรติงาม. Myofascial Pain Syndrome in Thai community. จุลสารรูมาติสซั่ม 2538; 4: 2-9.

Kamchuchat C, Chongsuvivatwong V, Oncheunjit S, Yip TW, Sangthong R. Workplace Violence Directed at Nursing Staff at a General Hospital in Southern Thailand. J Occup Health. 2008; 50(2): 201-7.

Zennaro D, Läubli T, Krebs D, Klipstein A, Krueger H. Continuous, intermitted and sporadic motor unit activity in the trapezius muscle during prolonged computer work. J Electromyogr Kinesiol. 2003 Apr; 13(2): 113-24.

Mesas AE, González AD, Mesas CE, de Andrade SM, Magro IS, del Llano J. The association of chronic neck pain, low back pain, and migraine with absenteeism due to health problems in Spanish workers. Spine (Phila Pa 1976) 2014; 39(15): 1243-53.

Lamé IE, Peters ML, Vlaeyen JW, KleefMv, Patijn J. Quality of life in chronic pain is more associated with beliefs about pain, than with pain intensity. Eur J Pain. 2005; 9(1): 15-24.

Chaiyaratana, C., Arpaichiraratana ,C. Ergonomics and Innovation for Creating Safety Workplace on Nurses. Journal of Nursing Science and Health 2017; 38(3): 146-155.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. ปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยลเพนซินโดรม 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.

Watanabe N, Stewart R, Jenkins R, Bhugra DK, Furukawa TA. The epidemiology of chronic fatigue, physical illness, and symptoms of common mental disorders: a cross-sectional survey from the second British National Survey of Psychiatric Morbidity. J Psychosom Res;2008 Apr; 64(4): 357-62.

Van Hoof W, O'Sullivan K, O'Keeffe M, Verschueren S, O'Sullivan P, Dankaerts W. The efficacy of interventions for low back pain in nurses: A systematic review. Int J Nurs Stud 2018; 77: 222-231.

Bungay KM, Boyer JG, Steinwald AB, Ware JE. Health-related quality of life: An overview. In: Bootman JL, Townsend RJ, McGhan WF, editors. Principle of Pharmacoeconomic. 2 ed. Cincinnati: Wharvey Whitney Books; 1966. P. 128-48.

Cerezo-Téllez E, Torres-Lacomba M, Mayoral-Del-Moral O, Pacheco-da-Costa S, Prieto-Merino D, Sánchez-Sánchez B. Health related quality of life improvement in chronic non-specific neck pain: secondary analysis from a single blinded, randomized clinical trial. Health Qual Life Outcomes 2018; 16(1): 207.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 7th ed. New York; John Wiley & Sons: 1999.

Simons DG. Symptomatology and clinical pathophysiology of myofascial pain. Schmerz 1991; (1): 529-37.

Portenoy RK, Tanner RM. Visual Analog Scale and Verbal Pain Intensity Scale. In: Portenoy RK, Tanner RM, eds. Pain Management: Theory and Practice. 5th ed. New York: Oxford University; 1996.

Jirarattanaphochai K, Jung S, Sumananont C, Saengnipanthkul S. Reliability of the medical outcomes study short-form survey version 2.0 (Thai version) for the evaluation of low back pain patients. J Med Assoc Thai 2005; 88(10): 1355-61.

Riebe, D., Ehrman, J. K., Liguori, G., Magal, M. ACSM's guidelines for exercise testing and prescription. 10thed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2018.

Hirshkowitz, M., Whiton, K., Albert, S. M., Alessi, C., Bruni, O., DonCarlos, L., et al. National Sleep Foundation's sleep time duration recommendations: methodology and results summary. Sleep health 2015; 1(1): 40–43.

กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล, ชนินทร์ สุดโนรีกุล, ประภาพร ศิริทรัพย์. การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อโดยวิธีการฝังเข็ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2545; 12(1): 8-14.

Cerezo-Téllez E, Torres-Lacomba M, Mayoral-Del Moral O, Sánchez-Sánchez B, Dommerholt J, Gutiérrez-Ortega C. Prevalence of Myofascial Pain Syndrome in Chronic Non-Specific Neck Pain: A Population-Based Cross-Sectional Descriptive Study. Pain Med 2016; 17(12): 2369-2377.

Fischer AA. Pressure algometry over normal muscles. Standard values, validity and reproducibility of pressure threshold. Pain 1987; 30(1): 115-126.

Mata Diz JB, de Souza JR, Leopoldino AA, Oliveira VC. Exercise, especially combined stretching and strengthening exercise, reduces myofascial pain: a systematic review. J Physiother 2017; 63(1): 17-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30