การรับรู้ภาวะสุขภาพและคุณภาพการบริการของผู้รับบริการการตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ แก้วบุญเรือง กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาวะสุขภาพ, คุณภาพการบริการ, การตรวจสุขภาพประจำปี

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพผู้มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลหนองบัวลำภู และคุณภาพการบริการด้านสภาพแวดล้อม ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจ และด้านการเอาใจใส่ผู้รับบริการ ในการตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี ที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ 4 ด้าน และคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการ 5 ด้าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.6 อายุเฉลี่ย 40.34 ปี เคยตรวจสุขภาพประจำปีในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 86.7 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.91, SD = 0.50) คะแนนที่มากที่สุด คือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากพฤติกรรม (x̄ = 4.37, SD = 0.60) คะแนนต่ำสุด คือ ด้านการรับรู้อุปสรรคของการตรวจสุขภาพ (x̄ = 3.00, SD = 0.99) คุณภาพการบริการของการตรวจสุขภาพประจำปี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03, SD = 0.65) คะแนนที่มากที่สุด คือ ด้านการให้ความมั่นใจ (x̄ = 4.07, SD = 0.71) คะแนนต่ำสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม (x̄ = 3.98, SD = 0.69)

            จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่พร้อมจะส่งเสริมป้องกันสุขภาพของตนเองของกลุ่มตัวอย่าง การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพควรจัดมากกว่าการให้ความรู้และให้คำปรึกษา และในส่วนของคุณภาพการบริการในด้านสภาพแวดล้อม ควรพัฒนาในด้านนี้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงการให้บริการนั้นๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

References

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเอ็นเอส; 2543.

กรมการแพทย์. แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, บวรศม ลีระพันธ์, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, ภรณี เหล่าอิทธิ, กนิษชานันท์ ช่วยเรือง. รายงานการสังเคราะห์ข้อเสนอทางเลือกของกลไกเพื่อพัฒนาระบบบริการตรวจคัดกรองสุขภาพ (Health Screening) ในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, สมชาย ธนะสิทธิชัย, วินัย ศรีสะอาด, ธนะรัตน์ อิ่มสุวรรณศรี, อรุณี ไทยะกุล. การตรวจสุขภาพประจำปีภายใต้สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ: การตรวจใดได้ประโยชน์. วารสารกรมการแพทย์ 2563; 45(3): 59-66.

พัชรี อิ่มอาบ. คุณภาพการให้บริการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลหัวเฉียว [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป), บัณฑิตศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2553.

ภัควรรณร์ เชาว์ดีธิรัชกุล, สุมามาลย์ ปานคำ. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมความตั้งใจซื้อโปรแกรมตรวจสุขภาพผ่านเว็บไซต์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2562; 10(1): 261-275.

กานดา แก้วรัตนะ. ความเชื่อด้านสุขภาพของผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2555.

ชนินทร์ภร เต็มรัตน์, พินทุ สุวรรณมณี. การรับรู้ภาวะสุขภาพและคุณภาพการบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการการตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36(2): 148-158.

อลิสา ช่วงอรุณ, พัชรี เจริญพร, นิรมล พจน์ด้วง, เปรมฤดี บุญภัทรานนท์. การประเมินคุณภาพบริการและความต้องการข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในคลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง. วารสารโรคมะเร็ง 2561; 38(3): 117-128.

โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. รายงานการตรวจสุขภาพประจำปี. หนองบัวลำภู: กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมโรงพยาบาลหนองบัวลำภู; 2563.

Becker MH, editor. The health belief model and personal health behavior. Thorofare, NJ: Charles B. Slack; 1974.

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. Servqual: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing 1988; 64: 12-40.

Krejcie, R. V., Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.

Best, John W. Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1977.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับจังหวัด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สุพัตรา การะเกตุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] (สุขศึกษา) สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2556.

วิษณุ สุภศร. การรับรู้การตรวจสุขภาพประจำปีของประชาชนในตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชพล จังหวัดอุบลราชธานี [การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต], บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

เมตตา คำพิบูลย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] (สุขศึกษา) สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553.

อัญชนา แก้วไธสง, ศิริจรรยา วิเศษน้ำ, ภคิน ไชยช่วย, นัจรินทร์ เนืองเฉลิม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจสุขภาพของผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไคอำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 1(1): 64-80.

อัจฉราพร กิ่งเล็ก, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560; 9(2): 54-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30