ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภาณุ อดกลั้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • สกาวเดือน มงคลสุคนธรัก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ณัฏฐนันท์ มุสิกบุญเลิศ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โควิด-19, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานี 420 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรค มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00  ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82, 0.74 และ 0.77 ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่าง ตุลาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564  วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และ Pearson product moment correlation

            ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.19 อายุเฉลี่ย 46.38 ปี (SD = 15.73) มีความรู้เกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับมาก (x̄ = 6.32, SD = 1.54) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.99, SD = 0.53) พฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, SD = 0.50) กลุ่มอายุแตกต่างกันมีความรู้ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคแตกต่างกัน (p <0.05) กลุ่มที่อาศัยในชุมชนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันโรคแตกต่างกัน (p <0.05) กลุ่มที่ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคแตกต่างกัน (p <0.05) กลุ่มอาชีพที่แตกต่างกันมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคแตกต่างกัน (p <0.05) กลุ่มที่รายได้แตกต่างกันมีทัศนคติต่อโรคแตกต่างกัน และความรู้ และทัศนคติสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค (p <0.05)

            ข้อเสนอแนะ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล กลุ่มที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ควรได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับความรู้ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคในหลายช่องทางเพื่อป้องกันการระบาดของโรคอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพในระดับจังหวัด

References

Kanchanaphisek Medical Center. What is COVID-19? [Internet]. 2020 [cited 2020 Aug 15]. Available from: https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/covid19is/

The Bangkok Insight Editorial Team. Update the situation of "COVID" [Internet]. 2021 [cited 2021 Apr 26]. Available from: https://www. thebangkokinsight.com/605569/

THE STANDARD TEAM, 2564. The situation of COVID-19 in Thailand (25 April 2021) [Internet]. 2020 [cited 2021 Apr 26]. Available from: https://thestandard.co/coronavirus-250464/

Thaitayh. Udon found eighth COVID-19 patient, Thai woman returned from England Order to quarantine her husband to see symptoms [Internet]. 2020 [cited 2020 Aug 15]. Available from: https://www.thairath.co.th/news/local/north east/1811906

Central Registration Office. Number of people across the Kingdom as of 31 December 2019. [Internet]. 2020 [cited 2020 Aug 15]. Available from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_ 62.pdf

Pattranit Muangthong, Wanida Thongkod, Supannee Ungpunsatwong. Sample size determination using Yamane formula [Internet]. 2020 [cited 2020 Aug 15]. Available from: http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

Suraiya Manmana, Sopon Iamsirithaworn, Sumonmal Uttayamakul. Coronavirus Disease-19 (COVID-19). Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute 2020; 14(2): 124–133.

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. ว.การแพทย์ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(3): 558–564.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. ว.สถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 92–102.

นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19(COVID-19) ของทันตาภิบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ว.สถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 104–115.

นุชจรีย์ พุกกะมาน, อรรถพล ศรีประดิษฐ์. ความรู้ ความเข้าใจ และการเตรียมพร้อมของพนักงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทยที่มีต่อการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19). ว.การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2563; 6(5): 167–180.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ว.วิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(04): 158–158.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. ว.การพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2020; 21(2): 29–39.

Regina Ferreira Alves, Catarina Samorinha, José Precioso. Knowledge, attitudes and preventive behaviors toward COVID-19: a study among higher education students in Portugal [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 5]. Available from: https://doi.org/10.1108/JHR-07-2020-0254

Shahabi, N., Kamalzadeh Takhti, H., Hassani Azad, M., Ezati Rad, R., Ghaffari, H. R., Mohseni, S., Aghamolaei, T., Norozian, F. Knowledge, attitude, and preventive behaviors of Hormozgan residents toward COVID-19, one month after the epidemic in Iran [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 5]. Available from: https://doi.org/10.1007/s10389-020-01454-1

มิ่งขวัญ ศิริโชติ. ความรู้และพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19). ว.วิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 2020; 6(2): 99–109.

ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพดึงพลัง อสม. อสต.ร่วมป้องการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชายแดน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=3720

สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน, อรุณ ปญฺญารุโณฒ, กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์. สังคมเมืองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ว.ศึกษาศาสตร์ มมร 2563; 8(1): 263–276.

Chardsumon Prutipinyo. Surveillance, prevention, and control measures of COVID-19 pandemic. Public Health policy & Laws Journal 2020; 6(2): 467–485.

โชค บูลกุล. หากผู้หญิงเป็นใหญ่ อะไรจะเกิดขึ้น??ความรู้องค์กร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://www.farmchok-chai.com/mobile/content.php?group=know ledge&id=knowledge&cid=270

รุจิภา สินสมบูรณ์ทอง, สุวพัชร วุฒิเสน. พฤติกรรมและการรับรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2561Vol7No1_36.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สุขภาวะของคน สุขภาวะของเมือง และชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=cities02

ยง ภู่วรวรรณ. โควิด-19 กับกลุ่มอาชีพที่อาจติดโรคได้ง่าย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkorn-hospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19 กับกลุ่มอาชีพที่อาจติดโรคได้ง่าย

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร. การดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.2014.udonthani.go.th/document/15904833 18.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30