การพัฒนาแบบประเมินคัดเลือกโรงพยาบาลชุมชนและชุมชนเพื่อฝึกประสบการณ์สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5
คำสำคัญ:
เกณฑ์การประเมินโรงพยาบาลชุมชนและชุมชนเพื่อเป็นแหล่งฝึก, หลักสูตรการเรียนแพทย์, การใช้ชุมชนเป็นฐาน, แพทยศาสตรศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยแบบบรรยายเชิงสำรวจโดยใช้เทคนิควิจัยแบบเดลฟาย (Delphi technique) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินโรงพยาบาลชุมชนและชุมชนที่เหมาะจะเป็นแหล่งฝึกในวิชาประสบการณ์ชีวิตแพทย์ในชุมชนสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 อาสาสมัครเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชนและชุมชน 6 อำเภอในจังหวัดอุดรธานีและอาจารย์แพทย์จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลอุดรธานี ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงจำนวน 66 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดคำถามปลายเปิด หลังจากนั้นได้รวบรวมประเด็นข้อคิดเห็นไปสร้างแบบสอบถามครั้งที่ 2 โดยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดคำถามปลายปิดแบบออนไลน์ เมื่อผ่านการทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 ความคิดเห็นข้อใดไม่สอดคล้องกัน จะทำแบบสอบถามครั้งที่ 3 เฉพาะในประเด็นข้อคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกัน หลังจากได้ข้อคิดเห็นที่สอดคล้องกันทั้งหมดจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินโรงพยาบาลชุมชนและชุมชนที่จะเป็นแหล่งฝึกให้กับนักศึกษาแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่ามัธยฐาน และพิสัย ควอไทล์
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง 66 คน ตอบแบบสอบถามครบทั้ง 3 ครั้งจำนวน 29 คน พบว่าแบบสอบถามความคิดเห็นครั้งที่ 1 ได้ประเด็นหัวข้อที่จะนำไปใช้ในการประเมินเพื่อจัดการเรียนการสอน 3 ประเด็น ทั้งหมด 50 ข้อประกอบด้วย 1. ด้านการเรียนการสอน 25 ข้อ 2. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการออกฝึกที่โรงพยาบาลชุมชน 16 ข้อ 3. ด้านความพร้อมของชุมชนที่เหมาะจะเป็นแหล่งฝึก 9 ข้อ เมื่อผ่านการทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 พบว่ามีความเห็นสอดคล้องกัน 29 ข้อ จึงได้ทำแบบสอบถามครั้งที่ 3 จำนวน 21 ข้อ ได้ข้อคิดเห็นที่สอดคล้องกันเพิ่มขึ้น 5 ข้อ
References
Takamura Akiteru, Hidekazu Misaki, Yousuke Takemura. Community and Interns’ Perspectives on Community-Participatory Medical Education: From Passive to Active Participation 2017; 7(7): 507-13.
WHO Study Group on Community-Based Education of Health, and World Health Organization. Community-Based Education of Health Personnel: Report of a WHO Study Group [meeting Held in Geneva from 4 to 6 November 1985]. World Health Organization; 1987.
Bashir Hamad. Community-Oriented Medical Education: What Is It?. Medical Education 1991; 25(1): 16–22.
Lindy McAllister, Ellen McEwen, Vicki Williams, Natasha Frost. Rural Attachments for Students in the Health Professions: Are They Worthwhile?. The Australian Journal of Rural Health 1998; 6(4): 194–201.
Paul Worley. Relationships: A New Way to Analyze Community-Based Medical Education? (Part One). Educational for Health 2002; 15(2): 117-28.
Len Kelly, Lucie Walters, David Rosenthal. Community-Based Medical Education: Is Success a Result of Meaningful Personal Learning Experiences?. General Article 2014; 27(1): 47-50.
Philip Cotton, Debbie Sharp, Amanda Howe, Caroline Starkey, Barbara Laue, Arthur Hibble, et al. Developing a Set of Quality Criteria for Community-Based Medical Education in the UK. Education for Primary Care: An Official Publication of the Association of Course Organizers, National Association of GP Tutors. World Organization of Family Doctors 2009; 20(3): 143-51.
Institute of Medicine (US) Division of Health Care Services. Community Oriented Primary Care: New Directions for Health Services Delivery. Edited by Eileen Connor and Fitzhugh Mullan. Washington: National Academies; 1983.
ปราณี ทองคำ. เทคนิคและเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. สงขลา; คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์: 2529.
Ronald M. Harden, Susette Sowden, Warren R. Dunn. Educational Strategies in Curriculum Development: The SPICES Model. Medical Education 1984; 18(4): 284–97.
เกษม บุญอ่อน. เดลฟาย:เทคนิคการวิจัย. กรุงเทพฯ; คุรุปริทัศน์: 2522.
แพทยสภา. เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม. ประกาศแพทยสภาที่ 12/2555: 1-22.
Jung Eun Yoo, Seo Eun Hwang, Gyeongsil Lee, Seung Jae Kim, Sang Min Park, Jong-Koo Lee, et al. The Development of a Community-Based Medical Education Program in Korea. Korean Journal of Medical Education 2018; 30(4): 309-15.
Barbara Ogur, David Hirsh. Learning through Longitudinal Patient Care-Narratives from the Harvard Medical School-Cambridge Integrated Clerkship. Academic Medicine: Journal of the Association of American Medical Colleges 2009; 84(7): 844-50.
Mora Claramita, Elsa Pudji Setiawati, Tri Nur Kristina, Ova Emilia, Cees van der Vleuten. Community-Based Educational Design for Undergraduate Medical Education: A Grounded Theory Study. BMC Medical Education 2019; 19(1): 258.
Magzoub Mohi Eldin, Henk G. Schmidt. A Taxonomy of Community-Based Medical Education. Academic Medicine: Journal of the Association of American Medical Colleges 2000; 75(7): 699-707.
Zohray Talib, Björg Pálsdóttir, Marion Briggs, Amy Clithero, Nadia Cobb, Brahmaputra Marjadi, et al. Defining Community-Engaged Health Professional Education: A Step Toward Building the Evidence. NAM Perspectives 2017; 7(4): 1-4.
Mennin, Stewart, Mennin, Regina P. Community-based Medical Education. The Clinical Teacher 2006; 3: 90-96.
แพทยสภา. เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555. ประกาศแพทยสภาที่ 11/2555: 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร