บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเพื่อประเมินและจัดการความปวดเฉียบพลันในเด็กที่เข้ารับการผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • พันธมนัส กันทวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ความปวดแบบเฉียบพลัน, การประเมินความปวด, การจัดการความปวด, การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล, เด็กที่เข้ารับการผ่าตัด, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

            พยาบาลที่ทำหน้าที่ในการประเมินความปวดเด็กจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความปวดเพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับเด็กตามบริบทที่แตกต่างกัน เนื่องจากในเด็กเล็กจะไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกปวดออกมาเป็นคำพูดได้รวมทั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอายุ ประสบการณ์เกี่ยวกับความปวดที่เคยได้รับ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ และการเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นต้น ส่วนการจัดการความปวดจะแบ่งออกเป็น การจัดการความปวดแบบใช้ยาและการจัดการความปวดแบบไม่ใช้ยา โดยการจัดการความปวดแบบใช้ยาถือเป็นบทบาทหน้าที่ของแพทย์ในการระบุแผนการรักษา ส่วนพยาบาลจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ แต่การจัดการความปวดแบบไม่ใช้ยาถือเป็นบทบาทหน้าที่หลักของพยาบาล และพยาบาลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ดูแลเด็กเพื่อให้การทำกิจกรรมต่างๆ เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีการคิดหาวิธีการในการที่จะทำให้ผู้ดูแลเด็กเกิดความรู้และความสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดการความปวดในเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดร่วมกับพยาบาล

            บทความนี้ได้รวบรวมผลการวิเคราะห์องค์ความรู้จากทฤษฎี ข้อมูลทางวิชาการ และผลการวิจัย ซึ่งสรุปได้ตามประเด็นดังนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับความปวดแบบเฉียบพลัน 2) พัฒนาการการรับรู้และการตอบสนองต่อความปวดในเด็กตามช่วงวัย 3) การประเมินและเครื่องมือประเมินความปวด 4) การจัดการความปวดแบบเฉียบพลัน และ 5) บทบาทพยาบาลในการให้ข้อมูลสำหรับผู้ดูแลเพื่อมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดการความปวดชนิดเฉียบพลันในเด็กที่เข้ารับการผ่าตัด

References

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด. กรุงเทพฯ: สมาคมการศึกษา; 2554.

ปิยศักดิ์ วิทยาบูรณานนท์, หฤทัย โชติสุขรัตน์. ความปวดในเด็ก. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2559; 60(2): 135-145.

วันธณี วิรุฬห์พานิช. การพยาบาลเพื่อจัดการความปวดในเด็กที่ได้รับผ่าตัดและถูกจำกัดการสื่อสารด้วยท่อช่วยหายใจ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992); 2561.

พันธมนัส ปัตตังทานัง. ผลของนวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ดูแลของเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

ดาราวรรณ อักษรวรรณ, พันธมนัส ปัตตังทานัง, กฤษณา พิขุนทด, พลากร สุรกุลประภา. ความปวดหลังผ่าตัดผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. J Med Assoc Thai 2011; 94(6): 118-123.

International Association for the Study of Pain. Pain terminology [Internet]. 1979 [cited 2021 Feb 6]. Available from: http://www.iasp-pain.org

McCaffery M. Pain: clinical manual for nursing practice. St. Louis: Mosby; 1989.

American Pain Society. The assessment and management of acute pain in infants, children and adolescents [Internet]. 2011 [cited 2021 May 15]. Available from: http://www. ampainsoc.org/advocacy/pediatric.

Vittinghoff M, Lönnqvist PA., Mossetti V, Heschl S, Simic D, ColovicVesna, et al. Postoperative pain management in children: Guidance from the pain committee of the European Society for Paediatric anaesthesiology. Paediatr Anaesth 2018; 28(6): 493-506.

ดารุณี จงอุดมการณ์. ปวดในเด็ก: การพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

เจือกุล อโนธารมณ์. บทบาทของพยาบาลในการป้องกันอาการปวดจากการผ่าตัด. ว.พยาบาลศาสตร์.

; 25(1): 14-23.

Ricci SS. Essentials of maternity, newborn, & women's health nursing. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2013.

Gai N, Naser B, Hanley J, Peliowski A, Hayes J, Aoyama K. A practical guide to acute pain management in children. Journal of Anesthesia 2020; 24(3): 421-433.

Bergomi P, Scudeller L, Pintaldi S, Dal MA. Efficacy of non-pharmacological methods of pain management in children undergoing venipuncture in a pediatric outpatient clinic: a randomized controlled trial of audiovisual distraction and external cold and vibration. Journal of Pediatric Nursing 2018; 42: 66-72.

He H, Zhu L, Chan W, Xiao C, Klainin-Yobas P, Wang W, et al. A randomized controlled trial of the effectiveness of an educational intervention on outcomes of parents and their children undergoing inpatient elective surgery. Journal of Advanced Nursing 2015; 71(3): 665-675.

จริยา ชัยจันทร์. ผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวในการจัดการความปวดเด็กวัย 1-3 ปีที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจต่อพฤติกรรมการจัดการความปวดของครอบครัว [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2553.

ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, ณัฐสุดา เสมทรัพย์. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการความปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กเล็กโรคทางตา หู คอ จมูก. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2556; 29(1): 96-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30