อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติฯ ในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พัชรา บำรุงสงฆ์ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

รากฟันเทียม, อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียม, รากฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ

บทคัดย่อ

 

            การศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทาน ที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และประเมินความพึงพอใจในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการฝังรากฟันเทียมร่วมกับใส่ฟันเทียมถอดได้ทั้งปากปี 2553 - 2566 ที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาจำนวน 74 ราย ทำการเก็บข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลทางรังสีพาโนรามาของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการใส่รากฟันเทียม ในขากรรไกรล่าง 2 ตัว และใช้ร่วมกับฟันเทียมถอดได้ทั้งปาก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประเมินความสำเร็จโดยใช้ CIP scale ประเมินอัตราการอยู่รอด และความพึงพอใจของผู้ป่วย

            ผลการศึกษา ผู้ป่วยสูงอายุ 74 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 54.1 อายุระหว่าง 64-94 ปี การตรวจวัดดัชนีทางคลินิกรอบรากเทียมส่วนใหญ่พบว่ามีคราบจุลินทรีย์โดยการเขี่ยด้วยเครื่องมือ ด้านซ้ายร้อยละ 66.2 ด้านขวาร้อยละ 64.9 ไม่มีจุดเลือดออก ด้านซ้ายร้อยละ 71.6 ด้านขวาร้อยละ 68.9 สภาพเหงือกมีการอักเสบเล็กน้อย ด้านซ้ายร้อยละ 52.7 ด้านขวาร้อยละ 51.4 ร่องลึกปริทันต์ วัดความลึกได้ 2 มิลลิเมตร ด้านซ้ายร้อยละ 47.3 ด้านขวาร้อยละ 46.0 การสูญเสียของกระดูก พบมีการสูญเสียกระดูกแต่ไม่เกิน 1/3 ความยาวรากเทียม ด้านซ้ายร้อยละ 89.1 ด้านขวาร้อยละ 87.9 รากฟันเทียมไม่โยก ด้านซ้ายร้อยละ 97.3 ด้านขวาร้อยละ 94.6 มีอัตราการอยู่รอดที่ 13 ปี ร้อยละ 91.9 อัตราความสำเร็จของรากฟันเทียมตาม CIP scale พบว่า มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง ร้อยละ 89.2 ฟันเทียมล้มเหลว ร้อยละ 8.1 และระดับความพึงพอใจในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมพระราชทานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.5, SD = 0.6)

            สรุป: อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทานระยะเวลาย้อนหลัง 13 ปี เท่ากับร้อยละ 91.9 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นไปในทางเดียวกันกับการศึกษาอื่นๆ

References

Allen PF, Thomason JM, Jepson NJ, Nohi F, Smith DG, Ellis J. A randomized controlled trial of implant-retained mandibular overdentures. J Dent Res 2006; 85(6): 547-51.

Karabuda C, Yaltirik M, Bayraktar M. A clinical comparison of prosthetic complications of implant-supported overdentures with different attachment systems. Implant Dent 2008; 17(1): 74-81.

Feine JS, Carlsson GE, Awad MA, Chehade A, Duncan WJ, Gizani S, et al. The McGill consensus statement on overdentures: mandibular two-implant overdentures as first choice standard of care for edentulous patients. Int J Prosthodont 2002; 15(4): 413-4.

Naert IE, Gizani S, Vuylsteke M, van Steen-berghe D. A randomised clinical trial on the influence of splinted and unsplinted oral implants in mandibular overdenture therapy. Clin Oral Invest 1997; 1(2): 81-8.

The royal dental implant project office, Institute of Dentistry. Dental record for the implant project in the honor of His Majestry the King, on the auapicious occasion of the 80th birthday on December 5h, 2007.

Bilhan H. Geckili O, Mumcu E, BimenogiuC. Maintenance requirements associated with mandibular implant overdentures: clinical result safer first year of service. J Oral Implantol 2011; 37(6): 697-704.

Kleis WK, Kammerer PW, Hartmann S, AL-Nawas B, Wagner W. A comparison of three different attachment systems for mandibular two-implant overdentures: one-year report, Clin Implant Dent Relat Res 2010; 12(3): 209-18.

Elsyad MA, Al-Mahdy YF, Fouad MM. Marginalbone loss adjacent to conventional and immediate loaded two implants supporting a ball-retained mandibular overdenture: a 3-year randomized clinical trial. Clin Oral Implants Res 2012; 23(4): 496-503.

Mombelli A, van Oosten MA, Schurch E Ir, LangNP. The microbiota associated with successful or failing osseointegrated titanium implants. Oral Micro biol Immunol 1987; 2(4): 145-51.

Loe H, Silness J. Periodontal disease in preg-nancy I. prevalence and security. Acta OdontScand 1963; 21: 533-51.

Misch CE, Perel ML, Wang HL, Sammartino G, Galindo-Moreno P, Trisi P, et al. Implant success, survival, and failure: the International Congress of Oral Implantologists (ICOI) Pisa Consensus Conference. Implant Dent 2008; 17(1): 5-15.

Milholland AV, Wheeler SG, Heieck IJ. Medical assessment by a Delphi group opinion technic.N Engl J Med 1973 288(24) : 1272-5.

Geertman ME, Boerrigter EM, Van Waas MA-J,van Oort RP Clinical aspects of a multicenter clinical trial of implant-retained mandibular overdentures in patients with severely resorbed mandibles. J Prosthet Dent 1996, 75(2); 194-204.

Boerrigter EM, van Oort RP, Raghoebar GM. Stegenga B,Schoen PJ, Boering G. A controlled clinical trial of implant-retained mandibular overdentures: clinical aspects. J Oral Rehab 199724(3): 182-190.

Van Waas MA, Geertman ME, Spanjaards SG, Borrigter EM. Construction of a clinical implant performance scale for implant systems with overdentures with the Delphi method. J Prosthet Dent 1997; 77(5): 503-509,

Aunmeungtong W, Kumchai T, Strietzel FP, Reichart PA, Kbongkhunthian P. Comparative clinical study of conventional dental implants and mini dental implants for mandibular overdentures: a randomized clinical trial. Clin Implant Dent Relat Res 2017; 19(2): 328-40.

Meijer HI, Raghoebar GM, Van't HofMA, Visser A. A controlled clinical trial of implant-retained mandibular overdentures: 10 years' results of clinical aspects and aftercare of IMZ implants and Branemark implants. Clin Oral Implants Res 2004: 15(4): 421-27.

สั่งสม ประกายสาธก, อภิรุม จันทน์หอม, การุณ เวโรจน์, สุกิจ เกษรศรี, พิริยะ ยาวิราช. การประเมินระดับกระดูกเบ้าฟันทางภาพรังสีรอบรากฟัน “ฟันยิ้ม” ที่ใช้ร่วมกับฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมขากรรไกรล่างในโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน. CM Dent J 2013; 34(1): 77-90.

Krennmair G, Seemann R, Fazekas A, Ewers R, Piehslinger E. Patient preference and satisfaction with implant-supported mandibular overdentures retained with ball or locator attachments: a ctoss- over clinical trial. Int J Oral Maxillo fac Implants 2012; 27: 1560-1568

ธารวิทย์ สุขเจริญ. การอยู่รอดของรากฟันเทียมพระราชทานในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2565 ; 41 (3) : 279-285.

Mericske-Stem R Aerni D, Geering AH, Buser D, Long term evaluation of non-submerged hollow cylinder implants clinical and radio-graphic results. Clin Oral Implant Res 2001;12(3):252-259.

Moraschini V, Poubel LA, Ferreira VF, Barboza Edos S. Evaluation of survival and success rates of dental implants reported in longitudinal studies with a follow-up period of at least 10 years: a systematic review. Int J Oral Maxillofac Surg 2015;44(3):377-388.

ชาตยา ฤตวิรุฬห์. การศึกษาย้อนหลัง 8 ปีของอัตราการอยู่รอดของฟันเทียมคร่อมรากเทียมขากรรไกรล่างในโครงการรากเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ทันตสาร 2563;41(3):105-122.

พรนภา พรชื่นชูวงศ์. อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมในผู้สูงอายุในโครงการรากฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2566; 42(1) : 15-26.

สุวลี ถาวรรุ่งโรจน์. อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมไทย (ฟันยิ้ม) ที่รองรับฟันเทียมทั้งปากของโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ ในผู้ป่วยสูงอายุที่สถาบันประสาทวิทยา. วารสารกรมการแพทย์ ปี 2564 ; ปีที่ 46 (3) : 29-34

วรางค์รัตน์ เศวตศิลป์. ประสิทธิผลการใส่ฟันเทียมทั้งปากชนิดถอดได้ยึดด้วยรากฟันเทียม 2 ตัว ในกระดูกขากรรไกรล่างที่เข้ามารับการรักษาที่หน่วยปริทันต์โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2565; 36(3): 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31