การฝึกความเชี่ยวชาญ (Faculty Practice) การปฏิบัติด้านการพยาบาลชุมชนของอาจารย์พยาบาล โดยใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ : กรณีศึกษา การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและการรักษาแบบประคับประคองที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กัลยภรณ์ เชยโพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

 

           การฝึกความเชี่ยวชาญ (faculty practice) การพยาบาลชุมชนของอาจารย์พยาบาลด้วยการเยี่ยมบ้าน(home visit) กับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยนำแนวคิดการดูแลครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (family-centered care) การเสริมพลังอำนาจเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลที่เหมาะสม เกิดผลลัพธ์ที่ดี

           กรณีศึกษา: การดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียงและการรักษาแบบประคับประคองที่บ้านในพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี ผู้ป่วยมีภาวะเสื่อมถอยมี multiple co-morbidity โรคลุกลามไม่ตอบสนองการรักษา มีความเครียด ในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดูแลอย่างรอบด้านให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

          การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว โดยใช้ IN-HOMESSS เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการสื่อสารของทีมสหสาขาวิชาชีพ และการใช้ทักษะการทำ family meeting เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่าทีมผู้ดูแลกับครอบครัว ทำความเข้าใจเป้าหมายหลักของผู้ดูแล การประเมินความต้องการด้านอื่นๆของผู้ป่วยละครอบครัว whole person approach, Palliative care Outcome Scale for Cares: POS-C เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการถามผู้ดูแลของผู้ป่วย, ประเมิน EPEC 9 Dimensions of Whole Patient Assessment for PC สามารถเสริมพลังให้ครอบครัวสามารถดูแลตนเอง

          ผลลัพธ์การดูแลโดยรวมดีขึ้นโดยมีคะแนนผลลัพธ์ Zarit burden, Stress test questionnaire (ST5) การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care Outcome Scale for Cares: POS-C) จาก 20 เป็น 13 คะแนน ตามลำดับ การจัดการปัญหาทางกาย ทางจิตใจ อาการรบกวนต่างๆ สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน การดูแลภาวะเครียดของครอบครัว โดยการเสริมพลังอำนาจ ตามแนวคิดของกิ๊บสันทำให้ผู้ดูแลมีภาวะเครียดลดลงจากแบบประเมินความเครียด (ST5) จาก 7 เป็น 4 คะแนนและภาระการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Zarit burden) ลดลงเป็น 10 คะแนน (no to mild burden)

          สรุป เครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมินและจัดการดูแลผู้สูงอายุป่วยระยะท้ายที่รักษาแบบประคับประคองที่บ้าน ทำให้เกิดผลดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ลดความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวน การมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมจัดการด้าน จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ลดความเครียดของผู้ดูแล         

         

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ มิถุนายน 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. เอกสารประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปด้านสาธารณสุข: ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข 2565. หน้า 2072-2078.

ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560. (ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2560)

WHO. WHO Definition of Palliative Care. (Internet]. 2012 [cited 2018 Dec 10] Available from. http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

Pokpalagon P. Palliative care model in Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2019: 40-51

สภาการพยาบาล. แนวทางการทำ Faculty practice ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล วาระ พ.ศ. 2561-2565 ในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565; [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก Faculty Practice(1).pdf (tnmc.or.th)

ศิริอร สินธุ. การปฏิบัติการทางการพยาบาลทางคลินิกของอาจารย์(Faculty practice). จดหมายข่าวสภาการพยาบาล 2564; 23(2): 7-9

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง บริการสุขภาพปฐมภูมิที่บุคคลมีสิทธิได้รับ พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา 2563

ปวีณา ยศสุรินทร์, จินดารัตน์ ชัยอาจ, ชมพูนุท ศรีรัตน์. ผลของโปรแกรมการดูแลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: พยาบาลสาร 2564; 48(2) : 132-145.

Gibson, C. H. . The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced nursing 1995; 21(6): 1201-1210.

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ [อินเทอร์เน็ต] . ปทุมธานี: รายงานจำนวนประชากร เดือน พฤษภาคม 2565; . [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.buengyitho.go.th/public/list/data

United Nations. World population ageing 2019. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WorldPopulationAgeing2019-Highlights.pdf

สมศักดิ์ เทียมเก่า. โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย; 2563; 35(1): 57-71

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565; บ. ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางและมาตราฐานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home ward) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25650805113031AM_homeward.pdf

Edsberg, L. E., Black, J. M., Goldberg, M., McNichol, L., Moore, L., & Sieggreen, M. (2016). Revised National Pressure Ulcer Advisory Panel Pressure Injury Staging System: Revised Pressure Injury Staging System. J Wound Ostomy Continence Nurs; 2016; 43(6), 585-597.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุลและปาริชาติ เพียสุพรรณ์. แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลประคับประคองใน

โรงพยาบาล ศูนย์การุณรักษ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560

บุษยามาศ ชีวสกุลยง, อารีวรรณ สมหวังประเสริฐ, สุรินทร์ จิรนิรามัย, เบญจลักษณ์ มณีทอน, ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, ชนัญญา มหาพรหม, และ ปัทมา โกมุทบุตร (บรรณาธิการ). การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง: Palliative care. เชียงใหม่:กลางเวียงการพิมพ์; 2556.

Practice Development and Quality Committee. Guidelines - reversed Edmonton Symptom Assessment System (ESAS-r). 2010; [Cited October 10, 2023]. Available from: http://www.palliative.org.

อรวรรณ ศิลปชัยม ชัชวาลย์ ศิลปกิจ และรสสุคนธ์ ชมชื่น. คุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบประเมินภาระการดูแล Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2558;23:12-23

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551;16(3): 177-185.

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองฉบับภาษาไทย (Palliative care Outcome Scale : POS). 2556 เชียงใหม่: บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด.

อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน บริบทชุมชนริมน้ำ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี. พิฆเนศร์สาร; 2562. 15(2): 127-140.

อภิรดี ธรรมจารี, ดาวรุ่ง คุณวุฒิคุณากร, ฉวีวรรณ จันทนากูล. แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย. หน่วยการดูแลแบบประคับประคอง งานการพยาบาลส่งเสริมคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลราชวิถี; 2564

Stephen R, Claire M, Emesto J, Richard H, James C, Barbara HI, et al. Global atlas of palliative care. 2" ed. London UK: World Health Organization and Worldwide Palliative Care Alliance;2020.

Health Organization. Global atlas of palliative care. 2ed. Geneva Switzerland Worldwide Hospice Palliative Care alliance; 2020.

Triker B. A Guide for the people palliative care. Bangkok: Sam Dee Printing Equipment Co Ltd publisher; 2017.

ชมพูนุท พงษ์ศิริ. กรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เผชิญความตายอย่างสงบ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย; 2561; 11(2): 1-14

ทัศนีย์ บุญอริยเทพ และธภัคนันท์ อินทราวุธ. ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่อการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2566; 31(1): 99-113

คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ 9/2561.นิยามปฏิบัติการและคำอธิบายความหมาย(Operation Definition and Glossary) ของคำที่เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง(Palliative care) ในประเทศไทย. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/sites/default/files

พวงพยอม จุลพันธ์, พรพรรณ มนสัจจกุล, สุพรรณี สุดสา. ประสบการณ์ของญาติต่อการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายให้เผชิญการตายอย่างสงบ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563; 35(3): 33-43

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31