ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การป้องกันและควบคุมวัณโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ อสม. และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยปัจจัยสนับสนุนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคกับการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันและควบคุมวัณโรคอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ประชากรที่ศึกษาเป็น อสม. ที่มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน 2,461 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 243 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ทดสอบค่าความเที่ยง KR-20 ด้านของความรู้ เท่ากับ 0.866 และในด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. ได้ค่าความเที่ยงโดยใช้ Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของความรู้เกี่ยวกับวัณโรคของ อสม. อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 46.50 (M= 9.6, S.D.= 1.78) ได้รับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากบุคลากรทางการแพทย์ และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การมีส่วนร่วมของ อสม.ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับสนับสนุนงบประมาณ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การสร้างขวัญกำลังใจให้ อสม. ให้มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น และสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคอย่างยั่งยืนต่อไป
References
Aek-apichon, T. (2018). Factors related to participation in tuberculosis prevention control of health volunteers at Bang-Lunk health promotion hospital, Muang district, Chumporn province. Journal of Health Research and Innovation, 1(1), 12-24.
Benjamin, S.bloom, (1975). Toxonomy of education objectives, hand book 1: Cognitive domain. New York: David Makay.
Chuaihom, N. (2018). Factors related to the prevention and control of tuberculosis among village health volunteers in Thathongmai, Kanchanadit, Suratthani. Region 11 Medical Journal, 32(1), 899-906.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.
Dokkhamtai District Public Health Office. (2018). Regular report of Dokkhamtai 2018. Phayao. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2013). National tuberculosis control programme guidelines, Thailand 2013. (2th ed). Bangkok: The Printing Office Agency to assist veterans in Royal Shupatham. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2018). Tuberculosis report. Nonthaburi. (in Thai)
Monkhai, S., Jairaree, A., & Taphichai P. (2013) Factors related with the participation of community in the prevention and controlling of dengue haemorrhagic fever in BanWangsai, Tambon Wangnumkhiaw, Ampeo Kampaengsaen, Changwat Nakhonpathom. Veridian E-Journal, 6(3), 461-477.
Phayao District Public Health Office. (2018). Summary of the TB situation of the country and Phayao province. Phayao. (in Thai)
Punyaphu, D. (2012). The evaluation of civil sector of community tuberculosis project in Ontai sub-district, Sankampaeng district, Chiang Mai province, Master of public administration, Chiang Mai University. (in Thai)
Rapeepat, A. (2004). Community participation in rural development in the current socio- cultural conditions in Thawithong Hongwiwat (Editor). The participation of people in the development. (p.100): Bangkok: Saksopa Printing. (in Thai)
Rueankham, C. (2019). The development of health volunteers’ competency for tuberculosis screening in community in Nam Pat district, Uttaradit province. Journal of Disease Prevention and Control : DPC. 2 Phitsanulok, 6(1), 48-61.
Somrit, N. (2015). Performance and readiness of village health volunteers on supervision of tuberculosis patients by directly observed treatment short-course, Kokha district, Lampang province. An independent study submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of public health, health promotion management faculty of public health, Thammasat University. (in Thai)
Suapumee, N., (2013). The relationship between personal factors, knowledge and lung tuberculosis preventive behaviors of people in Suankleau sub-district, Banpong district, Ratchaburi province, Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 23(2), 79-93.
Tanomsridachchai, W., Arsa, R., & Jumneansuk, A. (2017). Factors related to participation of village health volunteers on dengue hemorrhagic fever prevention and control in Ao-luek district, Krabi province. Wichcha Journal, 36(1), 86-97.
Thanachai, A. (2018). Factors related to participation in tuberculosis prevention control of health volunteers at Bang-Lunk health promotion hospital, Muang district, Chumporn province. Journal of Health Research and Innovation, 1(1), 12-24.
Wongpathomtip, K. (2017). The participation in the Zika Virus disease prevention and control for health volunteers in Don Tum district, Nakhon Pathom province. Journal of the Office DPC 7 Khon Kaen, 24(2), 59-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว