พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวาน, การดูแลตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดูแลตนเอง
การมาตรวจตามนัด ต่อระดับน้ำตาลหลังอดอาหารในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มควบคุมน้ำตาลได้กับควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลควนโดน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตตำบลวังประจัน จำนวน 90 คน ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2562 ทำการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่า IOC เท่ากับ 0.67 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.71 ค่าวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเอง กับระดับน้ำตาลหลังอดอาหารด้วยสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม (Binary logistic regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1. โอกาสการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดีของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มควบคุมน้ำตาลได้น้อยกว่ากลุ่มควบคุมน้ำตาลไม่ได้ประมาณ 2 เท่า อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2. โอกาสการมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารข้ามคืนในระดับเสี่ยงสูง เท่ากับ 1 : 1
3. การมาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่องมีความสัมพันธ์กับโอกาสการมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารข้ามคืน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่องมีโอกาสมีน้ำตาลหลังอดอาหารข้ามคืนระดับเสี่ยงสูงลดลงร้อยละ 78
จากผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้ทีมสหวิชาชีพส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การแสดงบทบาทผู้ป่วย และความเชื่อด้านสุขภาพไปพร้อมๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาตรวจตามนัด
References
American Diabetes Association [ADA]. (2019). Preventive foot care in people with diabetes. Diabetes Care, 32, 63 -64.
Boonyasopun, U., Perngmark, P., & Thongtamlung, J. (2011). Perceived susceptibility to hypertension and preventive behaviors among transitional aged women in Thachang district, Suratthani province. Princess of Naradhiwas University Journal, 3(1), 47-60.
Chittayanunt, K. (2014). Self care experience of diabetic patients in Tambol Lad Bua Khao, Ban Pong district, Ratchaburi province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 23(3), 110-121.
Diabetes Association of Thailand. (2019). Hemoglobin A1C : HbA1c. Retrieved January 1, 2019 from https://www.i-regist.igenco.co.th/web/dmthai_old/news_and_knowledge/1943. (in Thai)
International Diabetes Federation. (2016). Diabetes eye health: A guide for health. Retrieved June 4, 2020 from https://www.idf.org/wdd-index/.
Kanchanapiboonwong, A., Kumwangsanga, P., & Keawta, S. (2020). Report the situation of NCDs, diabetes, hypertension and related risk factors in 2019. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing Limited Partnership. (in Thai)
National Health Security Office. (2012). Diabetes work, high blood pressure. Retrieved October 5, 2020 from https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-contentdetail.aspx?CatID =MTEzNg==.
Pethchit, R. (2015). Self-care behaviors and blood sugar control among patients with diabetes mellitus at Khiensa hospital, Suratthani province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(2), 15–28.
Phadwong, B. & Lorga, T. (2015). Long term outcomes of the self–management support in patients with diabetes mellitus and hypertension: Ban Hongha, Numjo sub-district, Maetha district Lampang province. Journal of Health Science Research, 9(1), 43-51.
Puengching, T & Punthasr, P. (2019). Factors related to prevention behavior for communicable disease in the air technical students. Royal Thai Air Force Medical Gazette, 65(3), 27-36.
Siangdung, S. (2017). Self-care behaviors of patients with uncontrolled DM, The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 191–240.
Siriyuwasamai, N., Auksornnuem, N., Senbut, U., & Suntornkit, K. (Online). Retrieved June 5, 2019 from https://www.data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn62/uploads/30476_0802_20190605160715.pdf (in Thai)
Sroisong, S., Rueankon, A., Apichantramethakul, K., Nunta, N., & Sukkaseam, J. (2017). Perceived self-care behavior among patients with type 2 diabetes mellitus with poor glycemic control. Journal of Phrapokklao College, 28(2), 93-103.
Tajarernwiriyakul, A. & Suwannakud , K. (2016). Health perceives and self-care behaviors of people with diabetes mellitus in Tungmon Subdistrict, Prasat District, Surin Province. Research and Development Health System Journal, 9(2), 331-338.
Wangprajun Health Promoting Hospital. (2019). Data HDC. Satun Provincial Health Office. Satun. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว