ธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของการบริหารงานของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พัทธพงศ์ ตั้งสะสม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 2) ระดับประสิทธิผลของการบริหารงาน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของการบริหารงานของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.932 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 370 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
     1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M= 15, S.D.= 0.65)
     2. ประสิทธิผลของการบริหารงาน ด้านความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามเป้าหมายอยู่ในระดับสูง (M=78, S.D.= 0.75) และด้านความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (M= 3.76, S.D.= 0.78)

     3. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลด้านความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับประสิทธิผลด้านความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       งานวิจัยมีข้อเสนอแนะ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ควรจัดอบรมฟื้นฟูหลักธรรมาภิบาลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการอบรมหลักธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่หรือผู้มาปฏิบัติงานใหม่ในหน่วยงานของสถานบริการสาธารณสุข
และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควรสนับสนุน ส่งเสริมบุคลากรในการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานทุกภารกิจ

References

Best, J. W. (1997). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.

Charoensri, S., Yimwilai, C., & Wangmahaporn, P. (2016). Corporate culture governance with the effectiveness of the organization of the agency office of the royal thai police. Chophayom Journal, 27(1), 57-72.

Jeming, M. (2016). Personnel management of private educational institution administrators to teach islam under the office of private education Yala province. Thesis prince of Songkla University Pattani Campus, College of islamic studies, Prince of Songkla University. (in Thai)

Harankan, W. & Laasanklang, S. (2016). Administration according to good governance principles of Ban Dong sub-district administrative organization Mae Mo district Lampang province. Lampang Rajabhat University Journal, 5(1), 53-67.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavioral sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Lekakun, K. (2018). Governance culture of organizational affecting the effectiveness of municipal organizations in Southern Thailand. Journal of Narathiwat Rajanagarindra University, 6(1), 78-91.

Navaree, K. (2014). Public health administration using the principles of good governance of the district public health office in tambon health promoting hospital Raga district Narathiwat province. Thesis master of public health, community health program, Songkhla Rajabhat University College, Songkhla Rajabhat University. (in Thai)

Noicham, S., Nikhom, C., & Lawichien, C. (2016). Good governance and effectiveness in administration according to the equilibrium assessment principle of the city Chaophrayasurasak, Sriracha district, Chonburi. Kasembundit Journal, 17(2), 38-48.

Office of the Public Sector Development Commission. (2020). Good governance principles of good government administration. Retrieved September 12, 2020 from https://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_ id=1833 (in Thai)

Phuengduang, K. (2017). Administration according to good governance principles and the effectiveness of educational institutions under the Samut Sakhon primary educational service area office. Journal of Education Silpakorn University, 15(2), 112-126.

Phuengon, N. (2016). The administration according to the good governance principles of the Kui Nuea Subdistrict administrative organization Kuiburi district Prachuapkhirikhan province. Master of public administration college of management innovation, Rajamangala University of Technology Rattanakosin. (in Thai)

Rattanopas, O. (2017). Governance and effectiveness of personnel management of Suphanburi Provincial Public Health Office. Academic works, public health strategy development division Suphanburi provincial public health office. (in Thai)

Teerakan, B. (2016). Transformational leadership and governance affecting the effectiveness of district health offices. Case study of health area 3. Journal of Public Health System Research, 10(1), 80-91.

Wasi, P. (1999). New way of government management. Bangkok, Chulalongkorn University. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis(3rd ed). New York: Harrer & Row, Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-29