ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออกของผู้นำในชุมชน อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางการบริหาร, การปฏิบัติงานเฝ้าระวัง, ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, ผู้นำในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยทางการบริหาร 2) ระดับการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการบริหารกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และ 4) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของผู้นำในชุมชน อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 105 ตัวอย่าง คำนวณจากสูตรการประมาณค่าเฉลี่ยสำหรับการสุ่มตัวอย่างกรณีทราบค่าประชากร และเลือกตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของประชากร รวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.984 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทางการบริหารในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.56, S.D.= 0.66) ส่วนระดับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M=3.83, S.D.= 0.66) ปัจจัยทางการบริหารโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของผู้นำในชุมชน (r= 0.815) โดยปัจจัยด้านกำลังคน วิธีการบริหารจัดการ และเวลาในการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r= 0.708, 0.812 และ 0.802) ปัจจัยทางการบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และขวัญกำลังใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง (r= 0.688 ,0.667 และ 0.622 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญสถิติ ได้แก่ เพศ และรายได้ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ที่พบมากที่สุด คือ เรื่องข้อจำกัด ด้านงบประมาณ และการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์
ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนปัจจัยทางการบริหารแก่ชุมชน ให้สอดคล้องกับแผนงาน ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
References
Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.
Boonnaow, S. (2014). Administrative factors affecting operation of district survillance and rapid response team for dengue hemorrhagic fever control in Loei province. Master of public health thesis, graduate school, Khon Kaen University. (in Thai)
Bouphan, P. (2009). Principles of public health administration. Khon Kaen. Khon Kaen University House. (in Thai)
Chaimay, B., (2013). Sample size determination in descriptive study in public health. Thaksin University Journal, 16(2), 9-18.
Chaiyasat, C. & Poum, A. (2016). Administrative factors and administrative process associated with practicing of dengue hemorrhagic fever prevention and control of health personnel at sub-district health promoting hospital in Mukdahan province. KKU Journal for Public Health Research, 9(3-4), 62-70.
Chuenban, B. & Bouphan, P. (2021). Individual characteristics and administrative factors affecting operational prevention and control dengue hemorrhagic fever of village health volunteers in Kwao sub-district Maung district Mahasarakham province. KKU Research Journal (Graduate Studies), 21(3), 211-222.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2013). Dengue fever. Nonthaburi. (in Thai)
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Dengue fever prognosis report, 2019. Nonthaburi. (in Thai)
Gatesang, C. (2015). Factors related to dengue vector control behaviors of people in Tamode district, Phattalung province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(1), 24-36.
Keawwandee, N. (2015). Factor relating to the participation of people in prevention and control of dengue hemorrhagic fever in Nakhonjaedee sub-district Pasang district, Lamphan province. Thesis for the degree of master of public health, Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)
Kumpasee, W. & Janposri, W. (2011). Organizational supporting factors affecting dengue fever prevention and control performance among disease control health workers in health promoting hospital, Khon Kaen province. Journal of the Office of ODPC 7 Khon Kean, 18(3), 22-33.
Leklai, J. & Mekrungrongwong, S. (2016). Factors influencing the role of the participation in village health volunteers for the prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Journal of Public Health Nursing, 30(3), 132-144.
Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2019). September report 2019. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)
Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2020). September Report 2019. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)
Nooykulwong, T. (2015). Preventive behavior rerate to dengue hemorragig fever: A case study in Sadao distric, Songkhla province. Thesis for the degree of master of public health, Songkhla Rajabhat University. (in Thai)
Phitak, W. (2013). Administrative factors affecting operation of dengue hemorrhagic fever prevention and control among volunteers in Waeng Noi district, Khon Kaen province. Thesis for the degree of master of public health, Khon Kaen University. (in Thai)
Promkeree District Health Office, NaKhon Si Thammarat. (2020). Annual report 2020. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)
Rattanapunya, S. (2018). Factors influencing with surveillance and control behaviors for dengue hemorrhagic fever among village health volunteers in Mae Rim district, Chiang Mai province, Ratchaphruek Journal, 16(2), 87-96.
Songchan, S. & Bouphan, P. (2011). The dependence of the operation and control of dengue prevented by village health volunteers on the organization- A study undertaken at the Sumsao subdistrict, Phen district, Udonthani province. KKU Research Journal, 16(6), 730-738.
Streiner, D. L. & Norman, G. R. (1995). Health measurement scales: A practical guide to their development and use. 2nded. Oxford: Oxford University Press.
Yoosri, K. (2015). Public involvement in dengue fever prevention and control in Nong Tumlenug Municipality, Panthong distric, Chonburi province. Thesis for the degree of master of public administration, Burapha University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว