ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิทยา ศรแก้ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, อัตราป่วยสูง, จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูงอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกลุ่มตัวอย่าง 285 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก

     ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูงอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ทัศนคติอยู่ในระดับสูงและปานกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พบว่า โอกาสของกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ระดับปานกลาง จะมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมลดลง ร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ระดับต่ำ (ORadj= 0.30, 95%CI: 0.12-0.75) และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า โอกาสของกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติระดับสูงจะมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเหมาะสมสูงเป็น 2.17 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติระดับปานกลาง (ORadj= 2.17, 95%CI: 1.33-3.55)

     ข้อเสนอแนะ ควรดำเนินงานเชิงรุกเน้นให้ประชาชนป้องกันตัวเองก่อนเบื้องต้น และจัดกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
ในชุมชน



References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3nd ed). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. UCLA Evaluation Comment, 1(2), 1–8.

Boonchu, P. (2020). Factors related to prevention and control behaviour on dengue hemorrhagic fever: Comparative study between epidemic village and non-incidence village in Nampud Sub-district, Mueang District, Trang Province. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 3(3), 79-94.

Chaimay, B. (2013). Sample size determination in descriptive study in public health. Thaksin Journal, 16(2), 9-18. (In Thai)

Chawang District Public Health Office. (2019). Annual report 2019: Chawang district hemorrhagic fever report 2019. Nakhon Si Thammarat: Ministry of Public Health. (in Thai)

Department of Disease Control. (2019). Report on the Prognosis of Dengue Fever in 2019. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Ganthayo, W. (2013). Factors related to prevention and control of dengue hemorrhagic fever among people in Thadua Sub-District, Doitao District, Chiangmai Province. Ganesha Journal, 9(2), 65-79.

Gatesang, C. (2015). Factors related to dengue vector control behaviors of people in Tamode district, Phattalung province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(1), 24-36.

Intasri, C., Sarawong, P., Palitnonkert, A., & Eamjoy, D. (2017). Factor related to dengue hemorrhagic fever prevention of people in Bankongbangna, Srisajorakeanoi, Bang Saotong district, Samutprakan province, Thailand. Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal, 3(1), 43-51.

Khantikul, N., Sudathip, P., Saejeng, A., Tipmontree, R., & Suwonkerd, W. (2013). Social and environmental factors affect dengue hemorrhagic fever epidemics in upper northern Thailand. Lanna Public Health Journal, 9(1), 23-36.

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2019). Annual report 2019. Nakhon Si Thammarat: Ministry of Public Health. (in Thai)

Nooykulwong, T. (2015). Preventive behavior related to dengue hemorrhagic fever: A case study in Sadao district, Songkhla Province. Master's thesis, Faculty of Public Health. Songkhla Rajabhat University. (in Thai)

Payomyam, S. (2002). Practice psychology in community work. Silpakorn University: Nakorn Pathom. (in Thai)

Polarsa, T. (2010). Factors affecting dengue fever control: A case study comparing dengue-free sub-districts and districts with dengue outbreaks, Amnat Charoen Province. Journal Graduate School Pitchayatat, 5(2), 81-89.

Premkamon, A., Boonprachoen, K., Rueangsaisong, R., Sutasuk, B., Gunloedjariya, C., & Suwanthanma, T., et al. (2014). Proportion of appropriate practice for dengue fever prevention in Samliam community, Khon Kaen. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 2(4), 77-88.

Rattanapunya, S. (2018). Factors influencing with surveillance and control behaviors for dengue hemorrhagic fever among village health volunteers in Mae Rim district, Chiang Mai Province. Ratchaphruek, 16(2), 87-96.

Royal Acadamy. (2013). Royal institute dictionary. Bangkok: Aksorn CharoenTat. (in Thai)

Saminphanya, P., Tumsean, A., & Makonkhan, S. (2017). Knowledge, attitude and practice of dengue fever prevention among the villager of Baan Kantakian, Mitraparb subdistrict, Muaklek district, Saraburi Province. Journal of Nursing Siam University, 18(5), 37-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09