การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ลมัย แสงเพ็ง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยสูตินรีเวช โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาเครื่องมือ, การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, แผนกหลังคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยเพื่อพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และศึกษาผลการนำไปใช้ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะพัฒนาเครื่องมือ และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด จำนวน 40 คน และ 2) ศึกษาประสิทธิผลในการนำเครื่องมือไปใช้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน และเวชระเบียนของมารดามีบุตรสุขภาพดีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอด จำนวน 450 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานประจำสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และแบบเก็บข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเวชระเบียนของมารดาหลังคลอด   ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

     ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับหอผู้ป่วยหลังคลอดที่พัฒนาขึ้น กำหนดชื่อ “SPEC.N  Breastfeeding Assessment” รูปแบบเป็นตาราง 3 รายการ ได้แก่ 1) องค์ประกอบการประเมิน 2) วิธีการประเมินและเกณฑ์ผ่าน และ 3) แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประเมินโดยการซักถามด้วยคำถามปลายปิด กำหนดคำตอบและเกณฑ์ผ่านระบุเป็นตัวเลข ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่า IOC= 0.94 ค่าความเป็นปรนัย ร้อยละ 95.00 ค่าความไว ร้อยละ 90.91 และค่าความจำเพาะ ร้อยละ 93.10 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ ความพึงพอใจการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานประจำของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.70 – 4.90, S.D.= 0.32 - 0.42) ผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อย่างเดียวก่อนจำหน่าย ร้อยละ 88.67

     ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ควรนำเครื่องมือการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปใช้  เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วนนมแม่สำหรับพยาบาล

 

References

Alden, K.R. (2006). Newborn nutrition and feeding. In D. L. Lowdermilk & L. E. perry (eds), Maternity nursing (7th ed).

St. Louis, Missouri: Mosby Elsevier.

Bangsaynoi, K. (2010). Feeding at the breast & Breastfeeding Assessment. In Woramongkon, N. (Eds.), Breastfeeding

Specialist Training Manual, Office of Health Promotion (pp. 92-115). Nonthaburi. (in Thai).

Burns, N., & Grove, S.K. (2005). The practice of nursing research: conduct, critique, & utilization (5th ed). St. Louis:

Elsevier Saunders.

Chantana, K. (2011). Neonatal nursing. (5th ed.). Samut Prakan: Chamchuree Products. (in Thai).

Chusil, K. (2012). Breastfeeding assessment. In Muttamara, S., Chusil, K., Suthatworawut, A., Sangthawee, W., &

Hangchowanit. (Eds.), Textbook of breastfeeding mothers (pp. 163-174). Bangkok, Aiyarabook. (in Thai)

Davidson, M. R.,London, M. L., & Ladewig, P. A. W. (2012). Olds’ Maternity- Newborn nursing & women health care.

(9th ed.). New Jersey: Person education.

Dennis, C. (2020). Breastfeeding initiation and duration: A 1990-2000 literature review. Journal of Obstetrics

Gynecologic and Neonatal Nursing, 31, 12-32.

Department of Health. (2015). Maternal and child health standards assessment 2015 in Hospital, Health Promotion

Hospital & Tambon Nom Mae. Retrieved from https://www. chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/detail_article2.

php?info_id=623.

Faculty of Nursing, Mahidol University. (2011). Breastfeeding. In Wijitsukon, K., Sangpaem, P., Watnayu, N.,

Reangchirattean, S. & Phayakreang, S. (Eds.). Breastfeeding. Bangkok. (in Thai).

Fisk, C.M., Crozier, S.R., Inskip, H.M., Godfrey, K.M., Cooper, C., Roberts, G.C., et al. (2011). Breastfeeding and reported

morbidity during infancy: Findings from the Southampton women’s survey. Maternal and child Nutrition, 7, 61-

Mclnnes, R.J., & Chambers, J.A. (2008). Supporting breastfeeding mothers: Qualitative synthesis. Journal of Advanced

Nursing; 62(4), 407-427.

Phanit, W. (2006). KM word a day, “From KM Practitioner to KM Practitioner”. Bangkok: Tathata Publication Company

Limited. (in Thai).

Saengpheng, L. & Wittayapun, Y. (2018). A Comparison between flat nipple and normal nipple mothers in

breastfeeding success at Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital. Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital

Medical Journal, 2(1),8-18.

Sowjanya, S.V.M.S. & Venugopalan, L. (2018). LATCH Score as a predictor of exclusive Breastfeeding at 6 weeks

postpartum: Aprospective Cohort Study. Breastfeed Med. PMID:29957025.

Wongwanit, S. (2006). Assessment checklist: Methodology and assessment tools. In Wongwanit, S. (Eds.). Meta-

Assessment: Methodology and application. (pp. 49-76). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

World Health Organization. (2018). Ten steps to successful breastfeeding (Revised 2018). Retrieved April, 30, 2018,

from www.who.int/nutrition/bfhi/ten-steps/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31 — Updated on 2023-01-08