การประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมป้องกันและเวชปฏิบัติด้านเอชไอวีเอดส์ในกลุ่มผู้ต้องขังเรือนจำ: กรณีศึกษาเรือนจำอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สีฟ้า มงคลการุณย์ โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • มิลินดา แวววรรณจิตร เรือนจำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • สุภาวรรณ แพรกทอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, เรือนจำ, การป้องกันโรคเอดส์, เวชปฏิบัติ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมป้องกันและเวชปฏิบัติด้านเอชไอวีเอดส์ในกลุ่มผู้ต้องขังเรือนจำ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับโปรแกรม ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาล เรือนจำ และผู้ต้องขัง จำนวน 169 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทดสอบความเชื่อมั่นด้านความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีเอดส์ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.86 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการศึกษา พบว่า หน่วยปฏิบัติเรือนจำและโรงพยาบาลแม่ข่ายดำเนินการใช้โปรแกรมส่งเสริมป้องกันและเวชปฏิบัติด้านเอชไอวีเอดส์ในกลุ่มผู้ต้องขังเรือนจำผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดราชทันฑ์ปันสุข โดยใช้การประเมินตามแบบจำลอง CIPP ประกอบด้วย บริบทสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการเชิงนโยบาย ปัจจัยนำเข้าด้านความเพียงพอของทรัพยากรอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.23, S.D.= 0.11; M= 4.45, S.D.= 0.06) ตามลำดับ กระบวนการขับเคลื่อนโปรแกรม ความครอบคลุมต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (M= 3.41, S.D.= 0.06) ความรู้ในการป้องกันเอชไอวีเอดส์ของผู้ต้องขังอยู่ อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 84.95) พฤติกรรมส่งเสริมป้องกันกันการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ อยู่ในระดับมาก (M= 4.10, S.D.= 0.60) ประสิทธิผลของโปรแกรม ฯ ผู้ต้องขังทุกรายได้รับการคัดกรองเอชไอวีเอดส์เมื่อแรกรับ และมีผู้ต้องขังติดเชื้อเอชไอวีเอดส์รายใหม่ ร้อยละ 1.33, 0.80, 0.47 และ 1.40 ในปี พ.ศ. 2560 - 2563 ตามลำดับ โดยผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ทุกราย ซึ่งการดำเนินงานพบปัญหาโดยรวม คือ การคัดกรองในผู้ต้องขังรายเก่าประจำปียังไม่ผ่านเกณฑ์ และการจัดระบบการส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่องกรณีผู้ต้องขังพ้นโทษ

         ข้อเสนอแนะ 1) ควรจัดระบบส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่องในกรณีที่ผู้ต้องขังพ้นโทษและต้องกินยาต่อในระบบสุขภาพ 2) ควรจัดให้บริการโทรทัศน์ทางไกลในการสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ต้องขัง 3) ควรมีระบบเชื่อมต่อ
การรักษา เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษและรับยาต้านไวรัสต่อเนื่องในระบบสุขภาพ

 

References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing qualitative research: multiple strategies. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Chamniyom, A., Krungkraipetch, N., & Junprasert, S. (2017). Factors predicting intention to voluntary HIV screening test among male prisoners in prison seventh territory. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(2), 57-68.

Chonlapan, A. (2019). The development of the integrated system for diseases prevalent among prisoner-inmates: first admitted, transferred and discharged screening. Department of Disease Control. [Online]; (Cited 2017 September, 21). Retrieved January 14, 2022 from; https://ddc.moph.go.th. (in Thai)

Department of Disease Control. (2017). National strategy on ending AIDS problems 2017-2030. Ministry of Public Health. Nonthaburi: N.C. Concept Co. Ltd., Bangkok. (in Thai)

Jantarathaneewat, K., Chanakaew, P., Udon, T., & Thariyain, A. (2019). A formative assessment to develop HIV/STD prevention and care program for young prisoners at the central correctional institution for young offenders, Pathumthani. Thai AIDS Journal, 24(1), 1-8.

Health Administration Division. (2019). Guide of health service system development for prisoners. Bangkok: Born to Publishing, Ltd. (in Thai)

Legislative Institutional Repository of Thailand. (2020). Academic focus. Bangkok. (in Thai)

Phuengsanthia, T. & Tongkum, S. (2018). Prison: the area of punishment and the return of good inmates to society. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 737-748.

Royal Thai Government Gazette. (2017). Constitution of the kingdom of Thailand. [Online]; (Cited 2017 September, 21). Retrieved from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/. (in Thai)

Sa-ardeam, S. & Sukhontapirom Na Pattalung, A. (2015). A study of self-esteem and risk behaviors to HIV of inmates in prison with therapeutic community program in Northeastern Region of Thailand. Chulalongkorn Medical Journal, 59(1), 75-89.

Samama, C. & Na-Ranong, L. (2017). The crux of prisoners toward the project of return good people to the society. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1105-1114.

Silapichit, C. & Vorapart, T. (2016). Legal measures for prevent and control the epidemic of AIDS in Prison. A Thesis submitted in partial fulfillment for the degree of master of laws. Department of Low Dhurakij Pundit University. (in Thai).

Sunanta, M. (2019). An application of RRTTR measure for HIV prevention among prisoners in a province prison in Northern Thailand Office of Disease Prevention & Control Region 11 Chiangmai. Lanna Public Health Journal, 15(2), 34.

Sunanta, M. (2021). A study of prevalence and risk factors of HIV infection among male prisoners in Chiang Mai Province. Lanna Public Health Journal, 17(2), 26-36.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rded. New York. Harper and Row Publications. The National AIDS Management Center Bureau of AIDS, TB, and STIs Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017).

Thailand aational strategy to end AIDS 2017 – 2030. N.C. Concept Co. Ltd., Bangkok. (in Thai) Woraphat, T. (2021). Immates overflow. Kamlungjai Journal, 6(2), 36-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13