การศึกษาเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกัน และผลข้างเคียงของประชาชนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้า เซเนกาและวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้น โดยวิธีการฉีดเข้าในผิวหนังและการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
คำสำคัญ:
ระดับภูมิคุ้มกัน, แอสตราเซเนกา, ไฟเซอร์, ฉีดเข้าในผิวหนัง, ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงของวัคซีนแอสตร้าเซเนกาและวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้น โดยวิธีการฉีดเข้าในผิวหนังและการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชน อายุตั้งแต่ 18 – 59 ปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนกาและไฟเซอร์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ G*Power จำนวน 100 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน วัดผลลัพธ์หลังดำเนินการวิจัย 4 สัปดาห์ ใช้สถิติไคสแควร์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี
ของเชฟเฟ่
ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันสูงที่สุดตามลำดับ คือ ฉีดไฟเซอร์เข้าในผิวหนัง
(M= 20,916.16, S.D.= 12,503.87) ฉีดไฟเซอร์เข้าชั้นกล้ามเนื้อ (M= 18,861.74, S.D.= 10,866.45) และฉีดแอสตร้าเซเนกาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (M= 14,891.87, S.D.= 8,980.13) ต่ำสุด คือ แอสตร้าเซเนกาเข้าในผิวหนัง (M= 8,995.86, S.D.= 7,827.69) โดยฉีดไฟเซอร์ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ และไฟเซอร์ฉีดเข้าในผิวหนังมีภูมิคุ้มกันสูงกว่าแอสตร้าเซเนกาฉีดเข้าในผิวหนัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ส่วนอาการข้างเคียงแอสต้ราเซเนกาเข้า
ชั้นกล้ามเนื้อมีอาการมากที่สุด ร้อยละ 76.67 รองลงมา คือ ไฟเซอร์เข้าชั้นกล้ามเนื้อ ร้อยละ 69.57 และ
แอสตร้าเซเนกาเข้าในผิวหนัง ร้อยละ 66.67 ตามลำดับ โดยไฟเซอร์เข้าในผิวหนังมีอาการน้อยที่สุด และจำนวนอาการข้างเคียงที่พบในแต่ละชนิดและเทคนิคการฉีด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ดังนั้น หลังฉีดไฟเซอร์เข้าชั้นกล้ามเนื้อ และฉีดเข้าในผิวหนัง กระตุ้นเข็มที่ 3 จะมีภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 สูงกว่าวัคซีนแอสตร้าเซเนกาฉีดเข้าในผิวหนัง จึงควรสนับสนุนการใช้ไฟเซอร์ และงดการใช้แอสตร้าเซเนกาฉีดเข้าในผิวหนัง
References
Cao, Z. J., Wang, S. M., & Chen, Y. (2015). A randomized trial of multiple interventions for childhood obesity in China. American Journal of Preventive Medicine, 48(5), 552-560.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Department of Medical Sciences. (2021). Immunity and safety testing of 3rd dose booster vaccine following 2 dose of sinovac in the general population. Retrieved March 2, 2022 from https://www.dmsc.moph.go.th/post-view/1305. (in Thai)
Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. (2021). Siriraj releases research on COVID vaccine. Retrieved November 4, 2021 from https://www.si.mahidol.ac.th/th/ hotnewsdetail.asp?hn_id= 2691. (in Thai)
Jantarasuwan, S. & Buatoun, S. (2004). Research Methods in Social Science. Khon Kaen University. Khon Kaen. (in Thai)
Manmana, S., Iamsirithaworn, S., & Uttayamakul, S. (2020). Coronavirus-19 (COVID-19). Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 124-133.
Princ Hospital Suvarnabhumi. (2021). Injected into the skin. New hope. Spread the vaccine thoroughly. Stop the outbreak, Use less drugs, High immunity nearby, Injected into the muscle. Retrieved March 2, 2021 from https://www.princsuvarnabhumi.com/covid-dermal-injection. (in Thai)
Singhal, T. (2020). A review of coronavirus disease-2019. Indian J Pediatr, 87(4), 281–286. Today New. (2021). Results of safety studies and immune response from administer 3rd dose booster vaccination in persons who have received two doses of sinovac or ultraZeneca. Retrieved March 2, 2021 from https://workpointtoday.com/covid19-170/. (in Thai)
Wang, C., Horby, P. W., Hayden, F. G. & Gao, G. F. (2020). A novel coronavirus outbreak of global health concern. Lancet, 395, 470–473.
Worldmeters. (2021). World population. Retrieved January 14, 2021 from https://www.worldometers.info/th/. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว