ประสิทธิผลระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติของหน่วยบริการสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงค์ อยู่หนู สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ระบบส่งข้อมูล, หน่วยบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิผลระบบส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ (43 แฟ้ม) แบบอัตโนมัติของหน่วยบริการสาธารณสุขที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้แบบสอบถามซึ่งดัดแปลงมาจากแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการใช้โปรแกรม H.I.S. ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตรวจสอบเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 3 ท่าน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 28 คน และผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 136 คน รวม 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ One-Sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเห็นว่าประสิทธิผลระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.16, S.D.= 0.45) และพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความปลอดภัยของระบบ (M= 4.25, S.D.=0.61) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสมของระบบ (M= 4.21, S.D.= 0.61) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสิทธิผลระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติไม่แตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนความเห็นของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศ พบว่า ประสิทธิผลระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 3.88, S.D.= 0.51) และทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความปลอดภัยของระบบ (M= 3.96, S.D.=0.60) รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของระบบ (M= 3.95, S.D.= 0.61) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติของหน่วยบริการสาธารณสุขแตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับความพึงพอใจต่อระบบส่งข้อมูลอัตโนมัติอยู่ในระดับมาก โดยผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 4.29 (S.D.= 0.59) ส่วนผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศมีค่าเฉลี่ย 4.03 (S.D.= 0.57)

ฉะนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจควรจัดอบรม และมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศระดับตำบลมีศักยภาพที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งวางแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศครอบคลุม Hardware Software และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของหน่วยบริการ ให้มีมาตรฐานพร้อมใช้งาน

 

References

Baisri, T. (2016). An Information system for managing population data in the area of responsibility of the Tambon Health Promoting Hospital, Doem Bang Nang Buat District, Suphan Buri Province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(2), 98-107.

Chimnarong, N., Makatoke, S., Bowonratanasiri, S., & Kithen, A. (2016). Studying information system efficiency use H.I.S. program in Suranaree University of Technology Hospital. (Research report).Bachelor of management, Business computer major, Faculty of management science, Nakhon Ratchasima University. (in Thai)

Kaewchaiyaphum, K. (2018). The development of health Information system for Chaiyaphum Provincial Health Office. Journal of Chaiyaphum Medicine, 38(2), 37-45.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Information and Communication Technology Center. (2014). Center. Health Data Center. Retrieved 2 August, 2022 from https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php. (in Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). Plan to drive reform activities that will result in changes to the people Significantly (BIG ROCK). Retrieved 2 August, 2022 from http://nscr.nesdc.go.th/allbr/. (in Thai)

Onkong, A. (2009). Effectiveness. Retrieved 6 August, 2022 from http://aporn123.blogspot.com/ 2013/06/blog-post_28.html. (in Thai)

Phuvasunti, S. & Suwannawong, Y. (2021). The study of opportunities for development in health information technology system to support the public health and medical operation of Saraburi Province. Institute for Urban Disease Control and Prevention Journal, 6(1), 125-151.

Raruenrom, P., Yenjaima, R., & Sukleueang, K. (2019). Information technology service management of Raikhing Municipality Nakhonpathom Province. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 1(1), 1-12.

Rukleng, S. (2021). Factors associated with information technology (IT) competency development among pharmacists in hospitals in health region 12. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 1(3), 41-55.

Tamdat, D. & Chaitiang, N. (2022). Development of health information system in Phayao Province, Thailand. Thai Journal of Health and Health Sciences, 5(1), 78-92.

Thongnate, K., Yeansuk, T. & Chompukam, T. (2020). The study results of using clinical information system to improve care for chronic conditions in the District Health Promotion Hospital in Mahasarakham. (Research report). Faculty of Information Technology, Rajabhat Maha Sarakham University. (in Thai)

Wanlor, P., Srithammasak, B., & Vorapongsathorn, S. (2017). The development of an information system in Srisaket Province for retrieving patient referral data through the internet. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 61(3), 216-224.

Watmaha, J., Hencharoenlert, N. & Ingsrisawang, S. (2014). Privacy security framework design for electronic medical records using web services in Narathiwat Province. In The 5th STOU Graduate Research Conference. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. (in Thai)

Wipak, R., Turnbull, N., & Siwina, S. (2017). Factors related to data quality management for 43 public health data folders in primary care unit network at Chaturaphakphiman District, Roi-Et Province, The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4 (Special Issue): 162-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-14