ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ และภาวะปอดอักเสบ จากการติดเชื้อของอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลวัคซีนป้องกันโควิด-19, ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ, ประสิทธิผลในการลดการเกิดภาวะปอดอักเสบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นแบบ Retrospective cohort study โดยการทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียน เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อและการลดการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ของอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือประชากรอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการตรวจรักษาโควิด-19 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยที่การศึกษาประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ กลุ่มสังเกตเป็นกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ด้วยวิธี ATK หรือ RT-PCR ผลเป็นบวก จำนวน 5,517 คน กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK หรือ RT-PCR โดยโรงพยาบาล มีผลครั้งสุดท้ายเป็นลบและไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จำนวน 1,959 คน และการศึกษาประสิทธิผลในการลดการเกิดปอดอักเสบ กลุ่มสังเกต คือ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปอดอักเสบ จำนวน 103 คนกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่มีภาวะปอดอักเสบ จำนวน 5,414 คน ซึ่งเป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของโรงพยาบาลพรหมคีรี และผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา เชื่อมโยงข้อมูลการรับวัคซีนจากฐานข้อมูลการรับวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข (MOPH_IC) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยโลจิส
ติกพหุกลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า เมื่อควบคุมตัวแปรเพศ อายุ และการมีโรคประจำตัว พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกัน
โควิด-19 เมื่อเทียบกับการไม่ได้รับวัคซีน มีการติดเชื้อไม่แตกต่างกัน สำหรับประสิทธิผลในการลดภาวะการเกิดปอดอักเสบ พบว่า การรับวัคซีน 3 เข็ม มีโอกาสลดการเกิดปอดอักเสบได้ ร้อยละ 59.6 (AOR= 0.404, 95%CI: 0.203 - 0.806) การรับวัคซีน 2 เข็ม มีโอกาสลดการเกิดปอดอักเสบได้ ร้อยละ 49.6 (AOR= 0.504, 95%CI: 0.269 - 0.944)
ดังนั้น หน่วยบริการสาธารณสุขควรนำผลการศึกษาที่ได้ไปสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับประชาชนให้มารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 3 เข็ม เพื่อลดภาวการณ์เกิดปอดอักเสบเมื่อติดเชื้อโควิด-19
References
Auraireugkul, C. (2021). Evaluating the efficiency of COVID-19 vaccinations. Retrieved 10 May 2022, from http://doh.hpc.go.th/bs/issueDisplay.php?id=595&category=B10 &issue=CoronaVirus2019. (in Thai)
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control. (2021). Progress report on COVID 19 vaccine effectiveness studies from real-world use in Thailand in 4 population groups. Retrieved 25 January 2022, from https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2103120211008071928.pdf. (in Thai)
Bureau of Information Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health. (2021). Experts from the Department of Disease Control revealed effectiveness of the actual COVID vaccine used in Thailand on July 22, 2021. Retrieved 25 January 2022, from https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/04/161619/. (in Thai)
Chuenjai, K. & Punturaumporn, B. (2022). Factors affecting the decision to vaccinate against Coronavirus (COVID-19) of the population in Bangkok. Retrieved 10 May 2022, from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154037.pdf. (in Thai)
Department of Disease Control. (2021). Guidelines for COVID-19 vaccination in the 2021 outbreak situation of Thailand, 1st revised edition. Retrieved 25 January 2022, from https://www.thainapci.org/2021/2021/06/02/download document-pdf-guidelines-37/. (in Thai)
Department of Disease Control. (2021). Guidelines for COVID-19 vaccination in the 2021 outbreak situation of Thailand, 2nd revised edition. Retrieved 25 January 2022, from https://www.rama.mahidol.ac.th/med/th/news/announcement/30082021-1856-th
Department of Disease Control. (2022). COVID-19 Vaccine service guidelines (Pfizer, Orange Cap, Children's Formula) for children aged 5 –11 year. Retrieved 25 January 2022, from https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1645689088942.pdf. (in Thai).
Health Intervention and Technology Assessment Program. (2021). Research policy brief. Retrieved 25 January 2022, from https://www.hsri.or.th/media/printed-matter/detail/13832. (in Thai)
Kajhonlit, B. & Panthuramphorn, B. (2021). Factors affecting the decision making on Covid-19 vaccination among population in Samutprakarn province. Retrieved 10 May 2022, from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070058.pdf. (in Thai)
National Statistical Office. (2021). A survey of people's opinions on the situation of COVID-19 epidemic (vaccine). Retrieved 25 January 2022, http://www.nso.go.th/sites/2014/pages/ public opinion poll/2564.aspx
Phajonpai, Khanom, & Pradubpoth. (2022). A Comparative study on immunity level and adverse effects in people who received the astraZeneca vaccine or the Pfizer vaccine booster dose via Intradermal versus intramuscular injection. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 2(3), 1-15.
Phrom Khiri District Health Office. (2022). Report on the situation of the outbreak of COVID-19. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)
Ratchakul, J., Suwannit, C., Tuangratnanon, T., Ruengsom, P., Hatsaro, C., & Wiboonphan, S. (2021). Survey of public perspectives toward population adherence to COVID-19 mitigation policy following the outbreak in the first half of 2021. (Research paper). Health Systems Research Institute. (in Thai).
Royal Thai Government. (2022). Press release on the 2019 corona virus infection situation. Retrieved 28 April 2022, from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52281. (in Thai)
Royal Thai Government. (2022). Press release on the 2019 corona virus infection situation. Retrieved 28 April 2022, from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53427 (in Thai)
Royal Thai Government. (2022). Press release on the 2019 corona virus infection situation. Retrieved 28 April 2022, from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/41538 (in Thai)
Sritipsukho, P., Siribumrungwong, B., Tantiyavarong, P., Satdhabudha, A., Damronglerd, P., Jaru- Ampornpan, J. (2022). COVID-19 vaccine effectiveness in Thailand: a real world study (1st Year). from https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5535/hs2780.pdf?sequence=1&isAllo wed=y. (in Thai).
Wanitbancha, K. (2006). Data analysis for study. (2nd ed). Bangkok: Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว