ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ชัยณรงค์ ทรงทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของ อสม. ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2,369 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95 และค่า Z ∝/2 เท่ากับ 1.96 ได้จำนวน 242 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ รวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม
พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ดังนี้ ด้านการรับรู้ เท่ากับ 0.815 พฤติกรรมการป้องกันตนเอง เท่ากับ 0.864 และทั้งฉบับ เท่ากับ 0.893 วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient

          ผลการวิจัย พบว่า ระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ในการป้องกันโรค และการรับรู้ความรุนแรงของโรค  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (M= 3.85, 3.83 และ 3.79; S.D.= 0.45, 0.39 และ 0.40) ตามลำดับ สำหรับการรับรู้ต่ออุปสรรคในการป้องกันโรค มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.38, S.D.= 0.45) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสม (M= 3.91, S.D.= 0.57) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค และการรับรู้ความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำ (rs= 0.298 และ 0.292) ส่วนการรับรู้ถึงประโยชน์ในการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำมาก (rs= 0.187) สำหรับการรับรู้ต่ออุปสรรคในการป้องกันโรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

          ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยหน่วยงานควบคุมโรค ควรมีกิจกรรมหนุนเสริมให้ อสม. มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น

References

Bartz , A. E. (1999). Basic Statistical Concepts. 4th ed . New Jersey: Preentice–Hall.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2. winter : 336-385.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall Chaimay, B. (2013). Sample size determination in descriptive study in public health. Thaksin Journal, 16(2), 9-18.

Chomeya, R. & Phansri, G. (2020). New Corona Virus (CoVid-19) Disease Prevention Behaviors Awareness: Comparison Between Ages. Journal of the Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 39(6), 71-82.

Department of Disease Control. (2020). Guide to the prevention and control of coronavirus disease 2019 or COVID-19 for the people. Ministry of Public Health. Nonthaburi. (in Thai)

Department of Disease Control. (2021). Coronavirus disease situation 2021. Retrieved June 28, 2022 from http://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php. (in Thai)

Department of Health Service Support. (2013). Manual of volunteers, surveillance, control and prevention aggressive disease. Retrieved June 28, 2022 https://www.phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/1-14.pdf. (in Thai)

Inthacharoen, A., Kanchanapoom, K., Tansakul, K., & Pattapat, S. (2021). Factors influencing preventive behavior towards Coronavirus Disease 2019 among people in Khohong Town Municipality Songkhla Province. Journal of Council of Community Public Health, 3(2), 14-25

Moonti, J. (2021). Factors influencing preventive behavior of Coronavirus Disease 2019 among village health volunteers in Kong Krailat District, Sukhothai Province. The Office of Disease Prevention and Control 9th Nakhon Ratchasima Journal, 27(2), 5-14.

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2021). Annual report 2021. Nakhon Si Thammarat: Ministry of Public Health. (in Thai)

Phanyathorn, K., Sapsirisopa, K., Sriboonpimsuay, W., Tanglakmankhong, K., & Srisuwan, P. (2022). Knowledge, health beliefs and preventing behaviors of COVID-19 among village health volunteers in Cheangpin sub-district, Mueang district, Udonthani Province. Udonthani Hospital Medical Journal, 30(1), 1-11.

Singweratham, N., Thaopan, W. W., Nawsuwan, K., Pohboon, C., & Surirak, S. (2020). Perception and preventive behaviors on the coronavirus disease-2019 (COVID-19) among dental nurses under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 104-115.

Thabtrai, K., Premsane, J., Khamkue, B., Sopon, S., & Saleeon, T. (2022). Perception and behavior of village health volunteers in the prevention of coronavirus disease 2019 (COVID-19) KhuanKhanun Sub-District, KhuanKhanun district, Phatthalung province. Thaksin University Online Journal, 2022(1), P-01(09).

Thungsong District Public Health Office. (2021). Thungsong district COVID-19 report 2021. Nakhon Si Thammarat: Ministry of Public Health. (in Thai)

Yeunyow, T. & Boonserm, P. (2020). The relationship between knowledge and attitude toward on prevention behavior of Coronavirus infection 2019 (COVID-19) among female village health volunteer (VHV), Surin province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 35(3), 555-564.

World Health Organization. (2020). Coronavirus. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-04