ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน/แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน/ประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงาน/ทันตแพทย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ ทันตแพทย์ จำนวน 167 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย 119 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ทดสอบความเที่ยงตรงค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการทำงานตามกรอบแนวคิด 7S แมคคินซีย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.75 , S.D.= 0.51) แรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.85 , S.D.= 0.49) และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของทันตแพทย์อยู่ในระดับมาก (M= 3.86, S.D.= 0.44) จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย ความสำเร็จในการทำงาน ความมั่นคงในงาน ระดับการศึกษาในขั้น ป.บัณฑิตขั้นสูง การได้รับการยอมรับนับถือ สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ประวัติการย้ายมากกว่า 2 ครั้ง และความสามารถ สามารถร่วมทำนายประสิทธิภาพการทำงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร้อยละ 75.2 (R-Squareadj= .752) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ ด้วยลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์มากที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารควรทำการศึกษาเพื่อการสร้างงานด้านทันตกรรมที่ท้าทายภายในองค์กรให้มีความแตกต่างจากงานประจำเดิม ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทันตแพทย์สร้างงานในการจัดการสุขภาวะช่องปากที่ท้าทายความสำเร็จแบบก้าวกระโดด
References
Arayasiri, K. (1998). Applied psychology for organizations. Bangkok: Jan Kasem Rajabhat Institute. (in Thai)
Best, J. W. (1977). Research in education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.
Bouphan, J., Bouphan, P. & Kompor, P. (2011). Factors influencing the professional working performance of dentists at community hospitals of the public health region 12. KKU Research Journal, 16(6), 679-692.
Brooks, B., & Anderson, M. (2004). Nursing work life in acute care. Journal of Nursing Care Quality, 19(3), 269-275. https://www.doi: 10.1097/00001786-200407000-00014.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Diawatanawiwat, T. (2010). Factors affection dentists’ quality of work life in Ministry of Public Health in Central Region, Thailand. Journal of Public Health, 20(2), 205-214.
Firth, L., Mellor, D. J., Moore, K. A., & Loquet, C. (2004). How can managers reduce employee intention to quit?. Journal of Managerial Psychology, 19(2), 170-187.
Fontinha, R., Easton, S., & Van Laar, D. (2019). Overtime and quality of working life in academics and nonacademics: The role of perceived work-life balance. International Journal of Stress Management, 26(2), 173–183.
Herzberg, F. (1979). The motivation to work. (2nd ed.). New York: John Willey & Sons.
Jaichuen, W., Utasri, T., & Thumbuntu, T. (2022). Proportion of dental specialists task performance in Ministry of Public Health hospitals. Journal of Health Systems Research, 16(3), 407-417.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Maslow, A. H. (1970). Motivational and personality. New York: Harper & Brother. Mccleland, D. C. (1961).
The achieving society. New York: Free Press. Nakhon Si Thammarat Provincial Health Office. (2021). Dental department annual report 2021. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)
Ngernthong, P. (2012). Quality of work life of dentists in community hospitals. Thai Dental Public Health Journal, 17(2), 60-70.
Noppokon, J. (2003). Dentist continuing education system : for patient, dentist and dental profession. Khon Kaen University Dental Journal, 7(1), 14-16.
Palladino, C. (1994). Developing self-esteem. California: Crisp Publishers, Inc.
Peters, T., Waterman, R., & Phillips, J. (1980). Structure is not organisation. Business Horizons, 23(3), 14-26.
Petersen, H. & Plowman, E. G. (1953). Business organization and management. Illinois: Richard D. Irwin.
Ryan, T. A., & Smith, P. C. (1954). Principle of industrial psychology. New York: The Mcnanla Press Company.
Tarawaratit, S. (2021). Strategic flexibility of dental clinics during health crisis. Master’s thesis. Bangkok: Mahidol University. (in Thai)
Wongkongkatep, S. (2018). Meeting of the national health manpower committee 2018. Retrieved August 23, 2018 from https://www.hfocus.org/content/2018/08/16221. (in Thai)
Worawutthiphutphong, P. (2004). Enhancing self-esteem. The Journal of Human Sciences, 5(1), 49-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว