ประสิทธิภาพทางการเงินการคลังต่อภาวะวิกฤติทางการเงิน ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิรุณ คงศรีชาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพทางการเงินการคลังของโรงพยาบาล, การจัดการทางการเงิน, ภาวะวิกฤตทางการเงิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางการเงินการคลังต่อภาวะวิกฤติทางการเงินและความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพทางการเงินต่อภาวะวิกฤติทางการเงิน ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ในปีงบประมาณ 2562 – 2564 จำนวน 19 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จากรายงานจากกองเศรษฐกิจและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์

     ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคะแนนภาวะวิกฤติทางการเงินโดยใช้คะแนนเฉลี่ย 3 ปี ระหว่างปีงบประมาณ 2562 – 2564  ในช่วงคะแนน 0.00 – 3.99 คะแนน จำนวน 14 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73.68 และโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคะแนนภาวะวิกฤติทางการเงินในช่วงคะแนน 4.00 – 6.00 คะแนน  ซึ่งคาดว่าจะประสบปัญหาภายหลัง จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 26.32 ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพทางการเงินต่อภาวะวิกฤติทางการเงินของโรงพยาบาล พบว่า มีเพียงประสิทธิภาพทางการเงินด้านความสามารถ ในการทำกำไรความสัมพันธ์ต่อภาวะวิกฤติทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

     ข้อค้นพบนี้ สามารถนำไปใช้การให้น้ำหนักกับตัวชี้วัดของแต่ละด้านที่แตกต่างกันของประสิทธิภาพทางการเงิน เพื่อการประเมินประสิทธิภาพทางการเงินในภาพรวม ที่อาจส่งผลให้ประสบภาวะวิกฤติการเงินได้ และการเฝ้าระวังและปรับประสิทธิภาพทางการเงินในระยะสั้นและระยะยาว และสามารถจัดบริการที่มีคุณภาพ

References

Boonyamalik, P. & Maneewat, T. (2021). Trends in financial management of the hospital under the office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health: a qualitative study. Journal of Health Systems Research, 15(4), 477-89.

Division of Health Economics and Health Security. (2019). Financial status. Retrieved January 15, 2023 from https://www.healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2561. (in Thai)

Jungpanich, V. (2018). Factors affecting finance administration efficiency of the hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal, 3(1), 97-111.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

National Health Security. (2019). Annual report 2019. Retrieved January 15, 2023 from https://www.nhso.go.th. (in Thai)

Paek, S. C., Meemon, N., & Wan, T. T. W. (2016). Thailand’s universal coverage scheme and its impact on health-seeking behavior. Springer Plus (2016), 5:1952. https://doi:10.1186/s40064-016-3665-4.

Phettun, P. (2019). Analysis of financial management efficiency of Tha Rong Chang hospital, Surat Thani province, fiscal year 2014 - 2018. Journal of Health Research and Innovation, 2(4), 77-90.

Pramualratana, P. & Wibulpolprasert, S. (2002). Health insurance systems in Thailand. Health Systems Research Institute (HSRI). Nonthaburi. (in Thai)

Salangsingha, S. & Manasathitpong, N. (2021). The efficiency financial management of community hospital in Mukdahan province. Research and development health system Journal, 14(2), 151-161.

Tunkam, P. & Chandee, J. (2020). Assessment and recommendations for financial and fiscal management in hospitals who have experienced a severe financial crisis level 7 in Health Region 1. Retrieved January 15, 2023 from https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/news/int-news/item/4320-research- jintana2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-04