การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพ แบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก โรงพยาบาลขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์, พฤติกรรมสุขภาพ, ความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวม, หญิงตั้งครรภ์อายุมากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพ แบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ และคลินิกอัลตราซาวด์ โรงพยาบาลขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 72 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ ได้จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90, 0.92, 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Fisher's Exact Test
ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีการรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อยู่ในระดับปานกลาง (M= 390.31, S.D.= 193.32) พฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 71.88) ความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 71.88) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพและความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวม (p= .004 และ .005)
ดังนั้น การจัดระบบบริการสุขภาพในคลินิกฝากครรภ์ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุมากมีการรับรู้ภาวะเสี่ยงที่อาจจะมีผลต่อตนเองและทารกในครรภ์ให้มีความปลอดภัย ควรพิจารณาถึงความแตกต่างของปัจจัยด้านระดับการศึกษาเป็นสำคัญในการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม
References
Bayrampour, H., Heaman, M., Duncan, K. A., & Tough, S. (2012). Comparison of perception of pregnancy risk of nulliparous women of advanced maternal age and younger age. Journal of Midwifery & Women’s Health, 57(5), 445-453.
Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Casey, B.M., & Spong, C. Y. (2018). Williams obstetrics (25th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Department of Health. (2022). A guide to antenatal care for health workers. Ministry of Public Health: Nonthaburi. (in Thai)
Hattakit, U. & Thanoi, W. (2011). Holistic nursing and integrated healthcare : integration into the concept of nursing education management. Journal of the Nursing Council, 27(Special), 5-17.
Issarapukdee, P. & Pewnil, T. (2017). Pregnancy quality among Thai women of reproductive age During the year 1998-2015. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research. Mahidol University. (in Thai)
Jantakad, P. (2012). Health promoting behaviors of pregnant woman in antenatal care clinics, Chinagkham hospital, Chiangkham district, Phayao province. Independent study Master of Public Health, University of Phayao. (in Thai)
Islam, M. M. & Bakheit, C. S. (2015). Advanced maternal age and risks for adverse pregnancy outcomes: a population-based study in Oman. Health Care for Women International, 36(10), 1081-103.
Kaewpoung, S., Deoisres, W., & Suppaseemanont, W. (2018). Influencing of perception of pregnancy risk, knowledge, and attitude on preconception health behaviors among pregnant women. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 26(2), 57-66.
Khanom Hospital. (2022). Annual report, 2022. Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (in Thai)
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Martin, J. A., Hamilton, B.E., Osterman, M. J. K., Driscoll A. K., & Mathews, T. J. (2017). Births: final data for 2015. National Vital Statistics Reports, 66(1). Hyattsville, MD: National Center for Health Statistics. Retrieved from http://www.cdc.gov/nchs/data/nvsr/nvsr66/nvsr66_01.pdf - PDF.
Pangsuwan, P. & Srisuphandit, K. (2017). Pregnancy in advanced maternal age. Obstetrics and gynaecology Changmai University. (in Thai)
Phonkusol, C. & Sangin, S. (2021). Relationships between personal factors, perceptions of pregnancy risk and health behaviors among women of advanced maternal age. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(2), 24-35.
Saengin, S. & Pholkuso, C. (2018). Perceptions of pregnancy risk, health behaviors and holistic health service needs among women of advanced maternal age. Research Report; Burapha University (in Thai)
Thaewpia, S., Howland, L. C., Clark, M. J., & James, K. S. (2013). Relationships among health promoting behaviors and maternal and infant birth outcomes in older pregnant Thais. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 17(1), 28-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว