การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในหอศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำปาง
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้, หอศัลยกรรมหญิงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในหอศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำปาง โดยการโค้ชและวัดประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดการโค้ชของ Haas ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินและวิเคราะห์ปัญหา 2) การวางแผนการปฏิบัติ 3) การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 17 ราย และผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่เข้ารับการรักษาในหอศัลยกรรมหญิง จำนวน 60 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 – มีนาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ระยะที่ 2 คือ แบบบันทึกความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและ ระยะที่ 3 คือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในหอศัลยกรรมหญิงที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ได้แก่ การเกิดผิวหนังถูกทำลาย การกลับมารักษาซ้ำ และ 3) แบบวัดความรู้และทักษะของพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ซึ่งมีค่า CVI เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test, Independent t-test และ Linear Mixed Model
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในหอศัลยกรรมหญิง ระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด โดยมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการผ่าตัดที่ปลอดภัยทั้ง 3 ระยะ คือ รูปแบบการโค้ชที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์หลัก 2) กระบวนการ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ การประเมินและวิเคราะห์ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการโค้ช และ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสนับสนุน ทักษะการโค้ช และการติดตามดูแลเพื่อให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การให้ความรู้และฝึกอบรม จัดทำคู่มือการพยาบาล ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรถนะหลังผ่าตัด ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 1) พยาบาลหอศัลยกรรมหญิง มีความรู้ และการปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้หลังใช้มากกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2) พยาบาลหอศัลยกรรมหญิงมีความพึงพอใจในรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 76.47 ในด้านประสิทธิผล พบว่า ผิวหนังถูกทำลายลดลง 0.1 คะแนน และไม่มีการ Re-admit
ข้อเสนอแนะนำ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในหอศัลยกรรมหญิงไปประยุกต์ใช้ในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
Chongsakul, A., Yoosomboon, N., & Karuncharernpanit, S. (2020). Development of comprehensive care model for one day surgery of Phaholpolpayuhasaena Hospital, Thailand. Region 4-5 Medical Journal, 39(1), 109-125.
Female Surgery Statistics Lampang Hospital. (2021). Lampang Hospital information center Lampang Provincial Public Health Office: Lampang. (in Thai)
Ghana, S., Hakimi, S., Mirghafourvand, M., Abbasalizadeh, F., & Behnampour, N. (2017). Randomized controlled trial of abdominal binders for postoperative pain, distress, and blood loss after cesarean delivery. International Journal of Gynecology & Obstetrics, 137(3), 271-276.
Haas, S. A. (1992). Coaching: Developing key players. JONA: The Journal of Nursing Administration, 22(6), 54-58.
Databased of Cancer Patients Unit. (2022). Hospital-based cancer registry 2021. Bangkok: National Cancer Institute.
Howharn, C., & Inthongparn, O. (2015). A research and development of coaching model to enhance health care service skills. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(1), 167–177.
Law, H., & Aquilina, R. (2013). Developing a healthcare leadership coaching model using action research and system approaches-a case study: Implementing an executive coaching program to support nurse managers in achieving organizational objectives in Malta. International Coaching Psychology Review. 8(1), 54-71.
Paengsook, T., Urharmnuay, M., & Chotibang, J. (2017). Effects of coaching on nurses’ practices regarding positioning in preterm infants with endotracheal tube. Nursing Journal, 44(3), 1-8.
Redshaw, B. (2000). Do we really understand coaching? How can we make it work better. Industrial and Commercial Training, 32(3), 106 – 108.
Satchukon, S. (2004). Teaching techniques. Bangkok: Sarathan Printing House. (in Thai)
Spross, J. A. (2009). Expert coaching and guidance. In: Hamric, A. B.; Spross, J. A.; Hanson, C. M., editors. Advanced nursing practice: An integrative approach. Saunders Elsevier; St. Louis.
Wongngam, B., Urharmnuay, M., & Klunkin, P. (2016). Effect of coaching on practices of nurses in responding to stress cues of preterm infants during invasive procedures. Nursing Journal, 43(1), 12-22.
World Health Organization. (2021). Cancer [Internet]. Geneva, Switzerland: World Health Organization; [cited 2023 April 30]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact- sheets/ detail/cancer.
Zeus, P., Skiffington, S., & Trade, M-H. (2002). The coaching at work took it: A complete guide to techniques and practices. The Journal for Quality and Participation; Spring, 26(1), 49 – 51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว