การจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่กับการรับบริการทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จันทร์อาภา สุนทระสังวร โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่, การรับบริการทันตกรรม, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติในการรับบริการทันตกรรมของผู้มารับบริการทันตกรรม 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่กับการรับบริการทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ซึ่งมารับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนเมษายน – ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 1,717 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie & Morgan เท่ากับ 346 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ทัศนคติในการการรับบริการทันตกรรม เท่ากับ 0.791 ความพึงพอใจต่อการจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่ภาพรวม เท่ากับ 0.942 และภาพรวมทั้งฉบับ เท่ากับ 0.921 วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient

     ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติในการรับบริการทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.30, S.D.= 0.43) ความพึงพอใจต่อการจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่ ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M= 4.44, S.D.= 0.65) รองลงมา คือ ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ (M= 4.23, S.D.= 0.60) สำหรับด้านระบบบริการทันตกรรม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด แต่ยังอยู่ในระดับสูง (M= 3.89, S.D.= 0.80) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบริการทันตกรรมวิถีใหม่กับการรับบริการทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ด้านบุคลากรมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (rs= 0.238) ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ระดับต่ำมาก (rs= 0.170) ด้านระบบบริการทันต  กรรมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำมาก (rs= 0.134) กับการรับบริการทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

     ดังนั้น โรงพยาบาลควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ระบบการให้บริการ ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงและเข้าใจระบบบริการทันตกรรมวิถีใหม่ โดยเฉพาะช่องทางการให้คำปรึกษา ที่ผู้รับบริการสามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากได้

References

Atiperamin, N. (2021). Service marketing factors affecting the decision to use private hospital (General) during the Covid-19 crisis, a case study in the Wang Thong Lang district, Bangkok Thailand. An independent study submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of business administration program, Bangkok University. (in Thai)

Best, J. W. (1977). Research in education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Department of Medical Services. (2021). Practice guidelines for new normal dental services for dental treatmentsituation of the Corona Virus epidemic 2019. Ministry of Public Health: Nonthaburi. (in Thai)

Huang, C., Wang, Y., Li, X., Ren, L., Zhao, J., & Hu, Y. (2020). Clinical features of patients infected with 2019 novel Coronavirus in Wuhan, China. Lancet, 395(10223), 497– 506.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Leela-Adisorn, N. (2021). Impact of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) epidemic on dental work. Journal of Health Science, 30(3), S404-413.

Naing, L., Winn, T., & Rusli, B. N. (2006). Practical issues in calculating the sample size for prevalence studies. Archives of Orofacial Science, 1(1), 9-14.

Phraprom Hospital. (2022). Annual report 2022. Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office: Nakhon Si Thammarat. (in Thai)

Promchinnawong, W., Jansawang, S., Deeraksa, S., Jitpreeda, W., & Thanakanjanaphakdee, W. (2021). Perspectives on dental services of the patients in the pandemic of Corona virus (COVID-19) Thakhantho district, Kalasin province. Thai Dental Nurse Journal, 32(1), 80-88.

Tharawarathid, S. (2021). Strategic flexibility of dental clinics during health crisis. This thesis as part of the course of study master of management degree college of management Mahidol University. (in Thai)

Ren, Y. F, Rasubala, L, Malmstrom, H, & Eliav, E. (2020). Dental care and oral health under the clouds of COVID-19. JDR Clinical & Translational Research, 5(3), 202-210. https://www.doi: 10.1177/2380084420924385.

Zahra, S. A., Iddawela, S., Pillai, K., Choudhury, R. Y., & Harky, A. (2020). Can symptoms of anosmia and dysgeusia be diagnostic for COVID-19?. Brain Behav, 10(11), 1-18.

Wittayawannakul, J., Sinlapun, S., Srinaprom, K., & Chaisiri, T. (2021). The impact of Coronavirus- disease 2019 on dental services at Kranuan Crown Prince hospital, KhonKaen province Thai Dental Nurse Journal, 32(2), 14-26.

World Health Organization. (2020). Clean hands protect against infection. Retrieved May 5, 2022 from: https://www.who.int/gpsc/clean_hands_ protection/en/.

World Health Organization. (2020). Corona virus disease (COVID-19). Retrieved May 5, 2022 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-21