การศึกษาเปรียบเทียบผลการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่: กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • ธราดล ศรีสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช, กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยการจัดการตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่, เขตสุขภาพที่ 11, ตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่

บทคัดย่อ

     การศึกษาแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการจัดการของตลาดที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ ในเขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ผู้ประกอบกิจการตลาดหรือผู้จัดการตลาดหรือผู้ค้าในตลาดสดที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 – มีนาคม พ.ศ. 2566 ตลาดที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์จากจังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวนกลุ่มละ 60 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Independent t-test กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล

     ผลการวิจัย พบว่า ตลาดสดเข้าร่วมโครงการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ จำนวน 29 แห่ง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 55.17 ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 44.83 โดยกลุ่มตลาดที่ผ่านเกณฑ์มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ร้อยละ 100.00 ตลาดสดไม่ผ่านเกณฑ์มีผลการดำเนินงาน ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล มากที่สุด ร้อยละ 76.92 ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการจัดการด้วยแนวคิด McKinsey 7-S Framework พบว่า ด้านกลยุทธ์ ด้านรูปแบบ ด้านทักษะ และด้านค่านิยมร่วม และภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ข้อเสนอแนะในการพัฒนา พบว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบควรมีนโยบาย จัดสรรงบประมาณ ส่งเสริมให้ใช้ระบบ Food Handler จัดอมรมผู้ประกอบการ พัฒนาสื่อดิจิทัล เพื่อการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่

     ข้อเสนอแนะ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการส่งเสริมพัฒนาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาดสด และด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ขาย/ผู้ช่วยขาย โดยคำนึงถึงปัจจัยการจัดการของตลาดสดในการพัฒนาเป็นตลาดสดน่าซื้อวิถีใหม่ และการสนับสนุนเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการจากกระทรวงสาธารณสุข

References

Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health. (2021). Guide to new normal healthy market. Kaew Chao Chom Media and Publishing Center. Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Boontham, R. & Ruangsom, W. (2019, January 19). 7s framework management model with local government organizations. In Academic conference the 2nd national research presentation of humanities and social sciences students, Faculty of humanities and social sciences Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Chantawibul, A., Kingkaewcharoenchai, C., Pholwong, P., Limparangsee, S., & Kaewruang, N. (2021). Development of new normal market model. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 44(3), 90-102.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. ( 1981). Rural development participation: concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell: Cornell University.

Damrongpingsakul, R. (2009). Situation survey and participation in the attractive market type 1 project of healthy market a case study of a market that has not been certified as a healthy market. Department of Health of Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health: Nonthaburi. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Panyayuttasuk, T. (2021). The factor according 7S framework model for effective Sattahip municipality’s management. Journal of the Dual Degree Program in Public Administration and Business, 13(1), 104–116. Retrieved May 1, 2023 from http://www.mpamba.ru.ac.th/images/Project/treatise_bangkok13_06102020/6117950013.pdf. (in Thai)

Pornleartkochakorn, N., Limsiritong, K., & Santisarn, B. (2022). Factors of McKinsey's 7S model affecting learning organization of hotel business in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 16(2), 112–124.

Regional Health Promotion Center 11 Nakhon Si Thammarat. (2022). Annual report, 2022. Regional Health Promotion Center 11: Nakhon Si Thammarat. (in Thai)

Ruangpraphan, C. (2000). Basic statistics with examples of minitab SPSS and SAS analysis. Khon Kaen. Khon Kaen University. (in Thai)

Sidajit, J. & Inmong, U. (2013). A comparison of management practices between fresh food markets that meet and failing to meet the healthy market standard: a case study of the fresh food markets in Loei province. Research and Development Journal Loei Rajabhat University, 8(3), 110-119.

Thongtae, L. (2017). Factors affecting personal sanitation and hygiene practices of food handlers in rangsit city municipality, thailand. (Master’s thesis). Pathum Thani: Thammasat University. (in Thai)

Oranam, N. (2013). McKinsey 7s management factors affecting for being the attractive market of Maha Sarakham Municipality. (Master’s thesis). Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24