การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ที่มารับบริการโรงพยาบาลปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ซารีนา ตะโละ โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
  • นวรัตน์ ไวชมภู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, อาการกำเริบซ้ำ, ความเสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่มารับบริการโรงพยาบาลปัตตานี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทบทวนสถิติย้อนหลัง 5 ปี อัตราการกำเริบซ้ำและศึกษาสภาพปัญหาผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 นำข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบ โดยการระดมสมอง และประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเป็นประโยชน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบโดยการประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า

     1. สภาพปัญหาที่พบ คือ 1) พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยญาติไม่สามารถจัดการ 2) แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ชัดเจน 3) มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อเหตุซ้ำทั้งในครอบครัวและชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติและการส่งต่อยังไม่เป็นระบบ และ 5) ขาดการรักษาต่อเนื่อง

     2. รูปแบบการดูแลป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง คือ SMART Model ประกอบด้วย S: SMI-V, M: Mitigation, A: Admit R: Recovery และ T: Team

     3. ประสิทธิผลของ SMART Model เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนการประเมินอาการทางจิตก่อนและหลัง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     SMART Model เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในการทำงานร่วมกัน

References

Charoensri, K. (2023). Development of care model for psychiatric patients with high risk of violence by network partners participation: A case study Ban Na Tham - Huay Sai, Pa Rai subdistrict, Don Tan district, Mukdahan province. Journal of Environmental Health and Community Health, 8(2), 286-296.

Chudpimai, R. (2023). Development of a care model for chronic psychiatric patients At-risk groups in the community through the participation process of network partners, Lamplaimat district, Buriram province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(3), 851-867.

Klungka, S., Piyabanditkul, L., & Jaitieng, A. (2022). Analysis of Caring Pattern for Persons with Schizophrenia in One Tumbon of Khon Kaen Province. Nursing Science Journal of Thailand. 40(3), 31-41.

Jansam, S. (2020). Development of a seamless psychiatric care service system in the service area, Yasothon province. Journal of Health Science, 31(1), 1-9.

Laongsri, S., Srichaikul, B., & Pimchan, N. (2017). The development of care model for psychiatric patients in the communityTambon Phai, Rattanaburi district, Surin province. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 23(2), 1-9.

Lohacheewa, S. (2022). Recurrence of psychiatric patient hospitalization: The nursing role in continuing care. Thai Red Cross Nursing Journal, 14(1), 1-9.

Pattani Hospital. (2022). Annual report 2022. Pattani Hospital. Pattani Province. The Department of Mental Health. (2020). Manual for the care system for psychiatric patients at high risk of act of violence for institutions/hospitals Under the Department of Mental Health. Bangkok: Prosperus Plus. (in Thai)

Sriharaksa, P. (2022). Caring for schizophrenic patients at risk of violence through the use of participatory case management in the community Muang district, Sakon Nakhon province: A case study of Khamin subdistrict, Mueang district, Sakon Nakhon province. Journal of Health and Environmental Education, 8(1), 436-447.

Walaisri, K. (2023). Development of a care model for serious mental illness with high risk to violence in the community through the participation process of network partners, Selaphum district, Roi-et province. Journal of Environmental and Community Health, 8(3), 909-917.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-27