การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กวินทิพย์ รอดบางพง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มิ่งขวัญ ศิริโชติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การรับรู้, การมีส่วนร่วม, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของการรับรู้ เท่ากับ 0.91 การมีส่วนร่วม เท่ากับ 0.99  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M= 4.29, S.D.= 0.39) การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M= 4.04, S.D.= 0.52) และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า การรับรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.627, p < 0.001)

     ดังนั้น จึงควรสร้างความตระหนักหรือจัดกิจกรรมเสริมสร้างความมั่นใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการลดอุปสรรคที่ทำให้การป้องกันโรคไม่เกิดผลตามที่คาดหวัง เช่น การจัดการทรัพยากรและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Best, J. W. (1981). Research in education. 4rd ed. Englewood. Cliff, N.J.: Prentice Hall.

Bumrungrad Hospital. (2024). Dengue hemorrhagic fever. Retrieved February 9, 2024, from https://www.bumrungrad.com/th/conditions/dengue-hemorrhagic-fever. (in Thai)

Chamnoi, P. (2016). A study of knowledge levels, perceptions, and behavior of dengue fever control operations among public health volunteers. Case study of Phran Kratai district Kamphaeng Phet province. Disease Control Journal, 2, 138-150.

Davies, J. A. (1971). Elementary survey analysis. N.J., Prentice-Hall. Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2023). Disease epidemic situation. Dengue fever in Thailand. Retrieved February 11, 2024, from https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=36533&deptcode=brc&news_views=3731. (in Thai)

Disease Prevention and Control Office 11, Nakhon Si Thammarat Province. (2019). Guidelines for dengue fever control operations according to measures 3-3-1. Nakhon Si Thammarat: Disease Prevention and Control Office 11, Health District 11. (in Thai)

Duangkayai, W. & Takaew, T. (2014). The relationship between awareness of dengue fever and dengue fever prevention behavior of village health volunteers, Sob Bong subdistrict, Phu Sang District, Phayao Province. A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirement for master of public health, Phayao University. (in Thai)

Kaewta, R. & Jaitian, N. (2020). Dengue fever prevention measures for village health volunteers, Mae Ka Subdistrict, Mueang District, Phayao Province. A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirement for master of public health, Phayao University. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and sychological Measurement, 30(3), 607-610.

Leklai, C. & Mekrueangwong S. (2018). Factors for the participation of village health volunteers in dengue prevention and control work in Thammamoon subdistrict, Muang district, Chainat province. A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirement for the public health, Naresuan University. (in Thai)

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2023). Dengue fever situation. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)

Oungern, N. (2021). Factors affecting dengue hemorrhagic fever prevention behavior of ethnic household heads in Pa Klang subdistrict, Pua district, Nan province. [A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirement for the public health, Naresuan University. (in Thai)

Poolsap, P. (2015). Development of dengue fever prevention behavior among village health volunteers by promoting participatory work according to actual conditions at Tha Pha subdistrict health promoting hospital, Ban Pong district, Ratchaburi province. Ministry of Public Health Nursing Journal, 25(2), 206-218.

Puakpromma, P., Nititham, A., & Sirisopon, N. (2020). Factors related to dengue fever prevention behavior of people in the district. Bang Krachao subdistrict Mueang Samut Sakhon district, Samut Sakhon province. Army Nursing Journal, 23(2), 68-77.

Rakhmani, A., Limpanont, Y., Kaewkungwal, J., & Okanurak, K. (2018). Factors associated with dengue prevention behaviour in Lowokwaru, Malang, Indonesia: a cross-sectional study. Retrived April 20, 2023, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29751758/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

รอดบางพง ก., & ศิริโชติ ม. . (2024). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 5(1), e271755. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271755