การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนชนิดอัตราการไหลสูง ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเอง สำหรับนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, ความมั่นใจในตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และทดสอบประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนชนิดอัตราการไหลสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 76 คน ดำเนินการวิจัยช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 – มกราคม พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับนักศึกษาพยาบาล จำนวน 42 คน และระยะที่ 2 ทดสอบประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 34 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามความมั่นใจในตนเองก่อนเรียน หลังเรียน และหลังฝึกปฏิบัติ ทดสอบประสิทธิภาพโดยคำนวณค่า E1/E2 ทดสอบประสิทธิผลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Friedman Two-Way Analysis of Variance by Ranks และ Wilcoxon Signed Ranks test
ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท พร้อมแบบฝึกหัดท้ายบท มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.66/86.22 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ระยะที่ 2 พบว่า หลังการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริง นักศึกษาพยาบาลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดและสูงกว่าหลังเรียน และก่อนเรียนตามลำดับ มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ระดับมาก และความมั่นใจในตนเองหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสถานการณ์จำลองเสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาลจึงมีความเหมาะสมในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลก่อนฝึกปฏิบัติจริงในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนชนิดอัตราการไหลสูง
References
Brahmawong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20.
Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed.). Academic Press.
Hu, M., Zhou, Q., Zheng, R., Li, X., Ling, J., Chen, Y., ... & Xie, C. (2020). Application of high-flow nasal cannula in hypoxemic patients with COVID-19: a retrospective cohort study. BMC Pulmonary Medicine, 20, 1-7.
Jamjang, S., Atthamatakul, W., Nilliaum, R., & Wongyara, N. (2021). The effects of simulation- based learning on problem solving ability, and self-confidence in nursing care on the patient with health problem of nursing students. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(3), 178-194.
Jefferies, P. R. (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating simulations, . used as teaching strategies in nursing. Nursing Education Perspectives, 26(2), 96-103.
Khamman, S., Surimuang, M., & Asawaphalangkul, S. (2020). Effectiveness of high-flow nasal cannula oxygen therapy among adult patients: A Study at Mae Sot Hospital (Research report). Tak: Mae Sot Hospital. (in Thai)
Komonwipast, N., & Ucharattana, P. (2022). The effectiveness of an electronic book, entitled “male indwelling urinary catheterization” for sophomore nursing students in fundamentals of nursing course. Songklanagarind Journal of Nursing, 42(2), 62-72.
Lee, S. Y., Wang, T. J., Hwang, G. J., & Chang, S. C. (2019). Effects of the use of interactive E‐ books by intensive care unit patients' family members: Anxiety, learning performances and perceptions. British Journal of Educational Technology, 50(2), 888-901.
Manapattanasatien, T., Chitreecheur, J., & Kasatpibal, N. (2018). Development of an electronic book on prevention of multidrug resistance organisms transmission for registered nurses. Nursing Journal, 45(1), 146-158.
Serhat, K. (2018). ADDIE model: Instructional design [Internet]. Retrieved June 25, 2024, from https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/
Sinthuchai, S., Ubolwan, K., & Boonsin S. (2017). Effects of high-fidelity simulation-based learning on knowledge, satisfaction, and self-confidence among the fourth-year nursing students in comprehensive nursing care practicum. Rama Nursing Journal, 23(1), 113-127.
Tiyawisutsri, C., & Limkamontip, S. (2024). The development of multimedia electronic book (E- book) on basic 7 principles of newborn care for nursing students. The Journal of Boromarjonani College of Nursing, Suphanburi, 7(1), 82-94.
Thammakijpirote, T., Maneewong, J., & Sanongyard, J. (2023). Simulation- based learning on Critical thinking of nursing students in Thailand: A systematic review. The Journal of Boromarjonani College of Nursing, Suphanburi, 6(1), 5-28.
Ucharattana, P., Komonwipast, N., & Chaotthong, S. (2022). The Development and effectiveness of an interactive electronic book entitled “female indwelling catheterization” for sophomore nursing students at Rangsit University. Journal of Nursing and Health Care, 40(2), 45-54.
Uppor, W., Klunklin, A., Viseskul, N., Skulphan, S., & Turale, S. (2023). Designing simulation scenarios to enhance nursing students’ clinical judgment: A qualitative study. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 27(3), 445-456.
Wu, T. T., Huang, Y. M., Su, C. Y., Chang, L., & Lu, Y. C. (2018). Application and analysis of a mobile e-book system based on project-based learning in community health nursing practice courses. Journal of Educational Technology & Society, 21(4), 143-156.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว