ผลของโปรแกรมการบำบัดและให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน ต่อความเครียดและระดับสติในนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดและให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐานต่อความเครียดและระดับสติของนักศึกษาพยาบาล
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random) จาก 2 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้วิธีการเลือกอย่างมีเป้าหมายเพื่อ
คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติจำนวน 44 คน และทำการจับคู่ (matching pair) คะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างให้มีความเท่าเทียมกันทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดและใหคำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง และแบบประเมินสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำในกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง 1, 3 และ6 เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่ากลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดภายหลังการทดลอง 1, 3 และ6 เดือน ตำ่กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยคะแนนระดับสติภายหลังการทดลอง 1, 3 และ 6 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)
สรุป: โปรแกรมการบำบัดและให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน สามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดความเครียดพัฒนาความสงบของจิตใจ และการมีชีวิตที่สงบสุขมากขึ้นในนักศึกษาพยาบาล
ผลการศึกษา: ภายหลังการทดลอง 1 และ 6 เดือน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในกลุ่มทดลอง ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนระดับสติ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
จารุณี ตฤณมัยทิพย์. (2554). สมาธิกับการทำงานในชีวิตประจำวัน.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 22(2), 89-92.
ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, อรวรรณ ศิลปกิจ, และภัทราพร วิสาจันทร์. (2554). ความตรงของ Philadelphia Mindfulness Scale ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 19(3), 140 - 147.
ทวีทรัพย์ ผาใต้, ณัฐวุฒิ แดงประเสริฐ, และเกษวดี ชมชายผล. (2553). การศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.cph.snru.ac.th/UserFile/.
ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2555). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 1-11.
ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. (2552). สมาธิบำบัดในทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นันท์ชนก วงษ์สมุทร์. (2560). “สติบำบัด”: ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อ10 ธันวาคม 2560, จาก https://www.bbc.com/thai/40115831
ปวิดา โพธิ์ทอง, สุพัตรา พุ่มพวง, และสุนทรี ขะชาตย์. (2554). ความเครียด การปรับตัวและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 22(2), 1-14.
ปรียา แก้วพิมล, เยาวณี จรูญศักดิ์, ทิพมาศ ชิณวงศ์, โสนัม เล็บซา, พินนภา ยงเกียรติไพบูลย์, และอุไรรัตน์ หน้าใหญ่. (2555). ผลของโปรแกรมพลังบำบัดเรกิและการฝึกสติต่อสนามพลังออร่าและสุขภาพองค์รวมของนักศึกษาพยาบาลไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 18(2), 42-58.
เปรมฤดี ศรีวิชัย และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งความเครียด และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 57-68.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 12-24.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2554). Mind and Body Medicine ตอนที่ 2 สมาธิบำบัด. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก, 4(1), 9-16.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2559). การเจริญสติบำบัด. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559, จาก https://.happinessisthailand.com/wp-content.
ภาสกร สวนเรือง, สุจิตรา จรจิตร, และช่อลดา พันธุเสนา. (2552). ภาวะเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(2), 315-335.
มณฑา ลิ้มทองกุล และสุภาพ อารีเอื้อ. (2552). แหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. วารสารรามาธิบดี, 15(2), 192 – 204.
มานพ ชูนิล, พิสมัย รักจรรยา, และชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2550). วิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 3(2), 42-51.
วรวุฒิ อินทนนท์. (2554). การเปรียบเทียบการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ และนักศึกษาที่เรียนตามปกติของนักศึกษาชั้นปีที่ 1คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(1), 14-22.
สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี. (2550). การปฏิบัติสมาธิ การพยาบาลองค์รวมสำหรับนักศึกษาพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
Davidson, R. J., Kabat-Zinn, J., Schumacher, J., Rosenkranz, M., Muller, D., Santorelli, S. F., Urbanowski, F., Harrington, A., Bonus, K., & Sheridan, J. F. (2003). Alterations in brain and immune function produced by mindfulness meditation. Psychosomatic
Medicine, 65(4), 564-570.
Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larson, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.
Kabat-Zin, J., Lipworth, L., & Burney, R. (1985). The clinical use of mindfulness meditation for self-regulation of chronic pain. Journal of Behavioral Medicine, 8(2), 163-90. Retrieved January 10, 2017, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3897551
Kabat-Zinn, J., Massion, A. O., Krisyeller, J., Peterson, L. G., Fletcher. K. E., Pbert, Letal, et al. (1992). Effectiveness of a meditation-based stress reduction program in the treatment of anxiety disorders. American Journal of Psychiatry, 149(7), 936-943.
Kang, Y. S., Choi, S. Y., & Ryu, E. (2009). The effectiveness of a stress coping program based on mindfulness meditation on the stress, anxiety, and depression experienced by nursing students in Korea. Nurse Education Today, 29(5), 538-543.
Ratansiripong, P., Park, J. F., Ratanasiripong, N., & Kathalae, D. (2015). Stress and Anxiety Management in Nursing Student: Biofeedback and Mindfulness Meditation. Journal of Nursing Education, 54(9), 520-524.
Song, Y., & Lindquist, R. (2014). Effects of mindfulness-based stress reduction on depression, anxiety, stress and mindfulness in Korean nursing students. Nurse Education Today, 35(1), 86-90.