ผลของการใช้สื่อการสอนเรื่องการจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึดในนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

มาลาตี รุ่งเรืองศิริพันธ์
จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนน ความรู้เรื่องการจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึด ระหว่างนักศึกษา 3 กลุ่มที่ได้รับการสอนต่างกัน 3 วิธี และประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา พยาบาลที่มีต่อสื่อการสอน CAI เรื่องการจำกัด พฤติกรรมผู้ป่วยจิตเวชโดยการผูกยึด


วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับ ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 84 คน จากมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แต่ละกลุ่มมีจำนวน 28 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการสอนโดยฝึกปฏิบัติใน สถานการณ์จำลองตามรูปแบบการสอนเดิม กลุ่มที่ 2 ได้รับการสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI และกลุ่มที่ 3 ได้รับการสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI ร่วมกับฝึก ปฏิบัติในสถานการณ์จำลองตามรูปแบบการสอน เดิม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ ทดสอบความรู้เรื่องการจำกัดพฤติกรรมโดยการ ผูกยึด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเปรียบเทียบ ความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี Bonferroni correction


ผลการศึกษา: 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ การสอนและระยะเวลาที่วัด มีอิทธิพลต่อคะแนน เฉลี่ยความรู้ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 3.797, p = .027) 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่อง การจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึดก่อนและหลัง และระหว่างกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (F = 91.394, p = .000 และ F = 10.484, p = .000) โดยที่กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI และกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI ร่วมกับฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองตามรูปแบบ การสอนเดิมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้แตกต่างจาก กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองตามรูปแบบการสอนเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ แต่คะแนนเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มที่ได้รับ การสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI และกลุ่มที่ได้รับ การสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI ร่วมกับฝึกปฏิบัติ ในสถานการณ์จำลองตามรูปแบบการสอนเดิม ไม่แตกต่างกัน และ3) ผลการประเมินความคิดเห็น ของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อสื่อการสอน CAI พบว่า ส่วนใหญ่มีความพอใจในรูปแบบการนำเสนอ และเนื้อหาที่เข้าใจง่าย


สรุป: สื่อการสอน CAI ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ บทเรียนเรื่องการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยจิตเวช โดยการผูกยึดมากขึ้น สามารถส่งเสริมการศึกษา ด้วยตนเอง และสามารถใช้กับผู้เรียนจำนวนมาก ได้ จึงเหมาะสมในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน ทางการพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ลักขณา ศิรถิรกุล และ ดารินทร์ พนาสันต์. (2559). การพัฒนา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง “การ ดูดเสมหะ” สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและ การศึกษา, 17(3), 93-105.

จิณพิชญ์ชา มะมม. (2555). ประสิทธิผลของ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูก สันหลังของนักศึกษาพยาบาล. วารสาร สภาการพยาบาล, 27(ฉบับพิเศษ), 90-101.

จิณพิชญ์ชา มะมม. (2557). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน: เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนา ความรู้และทักษะสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(2), 286-293.

จินตนา ดำเกลี้ยง, ปิ่นทิพย์ นาคดำ, อนงค์ ประสาธน์วนกิจ และเนตรนภา พรหมเทพ. (2553). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง การเย็บแผลต่อความรู้ ทักษะ การปฏิบัติและความพึงพอใจของนักศึกษา พยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 56-67.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพ- มหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นันทวัช สิทธิรักษ์, ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ, ณัฏฐา สายเสวย, วรภัทร รัตอาภา, พนม เกตุมาน, วีระนุช รอบสันติสุขและคณะ. (2552). แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(4), 385-398.

วัลยา ตูพานิช และสุนันทา กระจ่างแดน. (2557). ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนเรื่อง การดูแลสุขภาพที่บ้าน สำหรับ นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(2), 198-210.

ศิริกนก กลั่นขจร, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, รุ่งทิวา บุญประคม และกุลวรา เพียรจริง. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารการ พยาบาลและสุขภาพ, 9(1), 67-82.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสาร ทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Bloomfield, J., Roberts, J., & While, A. (2010). The effect of computer-assisted learning versus conventional teaching methods on the acquisition and retention of hand¬washing theory and skills in pre-qualifi¬cation nursing students: A randomized controlled trial. International Journal of Nursing Studies, 47(3), 287-294.

Chatchaisucha, S., Jitramontree, N., & Vanicharoenchai, V. (2011). The effect of an intravenous infusion E-material on the second year nursing students’ ability to demonstrate the procedure of intravenous infusion. Journal of Nursing Science, 29 (Suppl 2), 143-150.

Gaberson, K. B., Oermann, M. H., & Shellenbarger, T. (2015). Clinical teaching strategies in nursing (4th ed.). New York: Springer.

Krautscheid, L., & Williams, S. B. (2018). Using multimedia resources to enhance active learning during office hours. Journal of Nursing Education, 57(4), 25.

Mayer, R. E. (2001). Multimedia learning. New York: Cambridge University.

Miller, M. A., & Stoeckel, P. R. (2011). Client education: Theory and practice. Sudbury, MA: Jones and Bartlett.

Nau, J., Dassen, T., Needham, I., & Halfens, R. (2009). The development and testing of a training course in aggression for nursing students: A pre- and post-test study. Nurse Education Today, 29, 196-207.

Nehring, W. M., & Lashley, F. R. (2009). Nursing simulation: A review of the past 40 years. Simulation & Gaming, 40(4), 528-552.

Sogunro, O. A. (2015). Motivating factors for adult learners in higher education. International Journal of Higher Education, 4(1), 22-37.

Sorden, S. (2018). The cognitive theory of multimedia learning. Retrieved May 10, 2018, from https://www.researchgate. net/publication/267991109_The_Cogni-tive_Theory_of_Multimedia_Learning