ผลการใช้โปรแกรมการกำกับอารมณ์ร่วมกับทักษะชีวิตที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการกำกับอารมณ์ร่วมกับทักษะชีวิตที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคม ก่อนและหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคม หลังการทดลองระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
วิธีการศึกษา : วิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ระยะเวลาในการจัดโปรแกรม 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษา : โปรแกรมการกำกับอารมณ์ร่วมกับทักษะชีวิตที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมีประสิทธิผล โดยพิจารณาจาก 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -9.53 , p < .05) และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.66 , p < .05)
สรุป : โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผลและสามารถช่วยให้นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2542). แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา.
ณัฏฐลิณ คุ้มรอด และ รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2560). ผลของโปรแกรมการกำกับอารมณ์ต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 37(2), 136-152.
พรพิมล พรมนัส. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับอารมณ์ต่อความสามารถทางอารมณ์และสังคมของเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย: วัยรุ่น-วัยสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมภพ เรืองตระกูล. (2550). การฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น. เรือนแก้วการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา และชั้น ปีการศึกษา 2560 – 2564. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/ sector/th/03.aspx
สุชา จันทร์เอม. (2540). วัยรุ่น. อักษรบัณฑิต.
Clark, A. E. (2016). SWB as a Measure of Individual Well-Being. Oxford University Press.
Clark, C. K. (2005). Percentile (Vol. 3). John Wiley.
Goleman, D. (1995) Emotional intelligence: why it can matter more than IQ. Bantam Books.
Gross, J. J. (1998). The emerging field of emotion regulation: An integrative review. Review of General Psychology, 2(3), 271-299.
Gross, J. J., & Jazaieri, H. (2014). Emotion, emotion regulation, and psychopathology: An affective science perspective. Clinical Psychological Science, 2(4), 387-401.
Iqbal, J., Asghar, M. Z., Ashraf, M. A., & Yi, X. (2022). The Impacts of Emotional Intelligence on Students' Study Habits in Blended Learning Environments: The Mediating Role of Cognitive Engagement during COVID-19. Behavioral Sciences. 12(1):14.
Jamali, S., Sabokdast, S., Nia H. S., Goudarzian, A. H., Beik, S., & Allen K. (2016). The Effect of Life Skills Training on Mental Health of Iranian Middle School Students: A Preliminary Study. Iranian Journal of Psychiatry, 11(4), 269-272.
Lorca, M. M., Zabala-Baños, M. C., Calvo, S. M., Martínez-Lorca, A., & Romo, R. A. (2023). Assessing emotional, empathic and coping skills in Spanish undergraduates in Health Sciences and Social Sciences. Retos, 47, 126–137.
Marashi, F., & Nikmanesh, Z. (2018). The effectiveness of emotion regulation training with a positive thinking approach in quality of life and Its dimensions among children with cancer. Jundishapur Journal of Chronic Disease Care, 7(1), 1-7.
Moulier, V., Guinet, H.,Kovacevic, Z., Bel-Abbass, Z., Benamara, Y., Zil, N., et al. (2019). Effects of a life-skills-based prevention program on self-esteem and risk behaviors in adolescents: a pilot study. BMC Psychology, 7(82), 1-10.
Rahiman, H. U., Panakaje, N., Kulal, A., Harinakshi, Parvin, S. M. R. (2023). Perceived academic stress during a pandemic: Mediating role of coping strategies. Heliyon, 9(6): e16594.
Raimundo, R., Marques-Pinto, A., Lima, M. L. (2013). The Effects of a Social-Emotional Learning Program on Elementary School Children: The Role of Pupils' Characteristics. Psychology in the Schools, 50(2), 165-180.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Shafait, Z., & Huang, J. (2022). Nexus of Emotional Intelligence and Learning Outcomes: A Cross-Country Study of China and Pakistan Higher Educational Institutes. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(23): 16215.
Steinberg, L. (2014). Adolescence (10th ed.). Trans-Theoretical Model. McGraw-Hill.