ปัจจัยทำนายการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร
สายใจ คำทะเนตร
จินดารัตน์ หมั่นมี
ฐนิชา ปัญญาแก้ว
ฐานมาศ วงค์ศรีชา
นริศรา ชาวกุดรัง
เสาวณี สาระหงส์
อิสศิริญา แอมนนท์

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อทำนายปัจจัยการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 - 4


               วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 - 4  จำนวน 172 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ -เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการเรียนออนไลน์ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านกูเกิลฟอร์ม การวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนการปรับตัวโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Pearson’s product correlation และ Stepwise Multiple Regression


               ผลการศึกษา : พบว่านักศึกษาพยาบาลมีการปรับตัว อยู่ในระดับมาก (mean  = 3.69, S.D. = 0.58 ) โดยด้านที่มีการปรับตัวสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ ด้านสังคม (mean = 3.98  , S.D. = 0.61) 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ทัศนคติต่อตนเอง (r = .658, p < .01) ทัศนคติต่อรายวิชา  (r = .591, p < .01) ทัศนคติต่อผู้สอน (r = .464, p < .01) ปัญหาผู้สอน (r = - .164, p < .05) และเมื่อนำตัวแปรวิเคราะห์ด้วยสมการ Stepwise Multiple Regression พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติต่อรายวิชาและด้านทัศนคติต่อตนเอง มีผลต่อการปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งมีสมการถดถอย ดังนี้  Y = 31.39+1.811(ATM)+ 1.397(ATS)


               สรุป : ในการเรียนระบบออนไลน์สถานศึกษาควรส่งเสริมให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและรายวิชา  เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ด้านการวิจัย ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพในการปรับตัวของนักศึกษากรณีมีวิธีการเรียนแบบใหม่ หรือการปรับตัวเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ แสนสุภาพ, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์ และผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (2), 84-96.

จุฑาภรณ์ ยอดเสนีย์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2563, [รายงานการวิจัย] คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, ชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. (2019). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507.

นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทนพ เข็มเพชร. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง; 6 (2), 188-199.

นิลญา อาภรณ์สกุล, และศิริลักษณ์ ศุภปิติพร. (2560). การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. เวชศาสตร์ร่วมสมัย, 61(5); 631-45.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, จุรีย์ นฤมิตเลิศ, และ กิติยา สมุทรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7 (1);13-27.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล,อุไรรัตน์ เอี่ยมสะอาด, นิตยา สิงห์ทอง, ขวัญฤดี ไพบูลย์, ชุติมา แช่มแก้ว, ปิยธิดา แจ่มสว่าง, กาญจน์ ศรีสวัสดิ์, และ มนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2564). การปรับตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12 (1), 212-228.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 5 (2):17-24.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้การศึกษาทั่วโลกหยุดชะงัก.สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Alghamdi, A. A. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on the social and educational aspects of Saudi university students’ lives. PLoS ONE, 16(4), e0250026.

Aroonsrimarakot, S., Laiphrakpam, M., Chathiphot, P., Saengsai, P., & Prasri, S. (2022). Online learning challenges in Thailand and strategies to overcome the challenges from the students’ perspectives. Education and Information Technologies, 28, 8153–8170.

Huber, S.G., Helm, C. (2020). COVID-19 and schooling: evaluation, assessment and accountability in times of crises—reacting quickly to explore key issues for policy, practice and research with the school barometer. Educational Assessment, Evaluation and Accountability, 32, 237–270.

Joseph, S. (2021). How Humanistic is Positive Psychology? Lessons in Positive Psychology from Carl Rogers' Person-Centered Approach-It's the Social Environment That Must Change. Frontiers in Psychology. 12:709789.

Li, W., Gillies, R., He, M., Wu, C., Liu, S., Gong, Z., & Sun, H. (2021). Barriers and facilitators to online Medical and nursing education during the COVID-19 pandemic: perspectives from international students from low-and middle-income countries and their teaching staff. Human resources for health, 19(64).

Liu, Y., Li, J., Feng, Y., Liu, J., & Zhang, Q. (2021). The impact of COVID-19 epidemic on the mental health of undergraduate nursing students in a university in China. Journal of Nursing Education and Practice, 11(2), 75-82.

Lokanath, M., Mishra, T., Gupta, A., & Shree, A. (2020). Online Teaching-Learning in Higher Education during Lockdown Period of COVID-19 Pandemic. International Journal of Educational Research Open, 1, 100012.

Mishra, L., Gupta, T., & Shree, A. (2020). Online teaching-learning in higher education during lockdown period of COVID-19 pandemic. International Journal of Educational Research) Open, 1, 100012.

Radu, M.-C., Schnakovszky, C., Herghelegiu, E., Ciubotariu, V.-A., & Cristea, I. (2020). The Impact of the COVID-19 Pandemic on the Quality of Educational Process: A Student Survey. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(21), 7770.

Regmi, K., & Jones, L. (2020). A systematic review of the factors, enablers and barriers affecting e-learning in health sciences education. BMC Medical Education, 20(91).