ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรสต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา
วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา และคู่สมรส จำนวน 24 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คู่ กลุ่มควบคุม 12 คู่ โดยการสุ่มแบบง่าย ด้วยวิธีจับฉลาก ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.80 และ 3) โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของเดวิโต (DeVito, 2003) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติทดสอบค่าที จากคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุรา
ผลการศึกษา : 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัด ต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส สามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ ดังนั้นจึงควรนำการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ไปใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุราที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้สามารถลดพฤติกรรมติดสุราได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
จัสมิน สุวรรณชีพ. (2544). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งของคู่สมรส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตภัณฑ์ กมลรัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(2), 47-60.
เทพไทย โชติชัย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 1-12.
ธิษณามา โพธิ์งาม. (2560). ผลของโปรแกรมการบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคติดสุรา. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 450-458.
นันทวัช สิทธิรักษ์. (2559). จิตเวชศิริราช DSM5. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
พลเทพ วิจิตรคุณากร,สาวิตรี อัษณางกรณ์ชัย, และอลัน กีเตอร์. (2562). คู่มือและแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. ลีโอ ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์.
พัชรินทร์ อดิสรณกุล. (2563). การศึกษารายกรณีผู้ป่วยโรคติดสุราหอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), หน้า 268-278.
เพ็ญพักตร์ ดารากรณ์ ณ อยุธยา. (2556). ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช: วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, 27(1), 1-15.
มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี.
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2563). รายงานสถิติประจำปี. อุบลราชธานี: งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.
ลิษา เที่ยงวิริยะ, ผ่องพรรณ ภะโว, และวิมล นุชสวาท. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(2), 61-73.
วีรวัต อุครานันท์. (2562). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด delirium จากการขาดสุราในผู้ป่วยติดสุราของโรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. วารสารกรมการแพทย์, 44(6), 39-45.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2560). ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. บริษัท เดอะกราฟิกโกซิสเต็มส์จำกัด.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2554). แบบคัดกรองประสบการณ์ดื่มสุรา สูบบุหรี่และใช้สารเสพติด คู่มือเพื่อใช้ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ. บริษัท คุณาไทย จำกัด
สุภา อัคจันทร์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และ ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2560) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจในการหยุดดื่มของผู้ติดสุราที่กลับไปดื่มซ้ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33 (1), 17-28.
สุรเมศวร์ ฮาชิม, รัตนา เลิศสุวรรณศรี, และ รมิดา ศรีเหรา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมปลายจังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology, 6(1), 1-10.
สุรัมภา รอดมณี. (2561). สื่อสารดี ชีวีครอบครัวมีสุข. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(2), 461-469.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัท ส. เอเชียเพรส จำกัด.
อังกูร ภัทรากร, ธญรช ทิพยวงษ์, อภิชาติ เรณูวัฒนานนท์, พัชรี รัตนแสง, และวิมล ลักขณาภิชนชัช (2558). แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา รพีจำปา. (2550). พฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ที่เป็นโรคติดสุราโรงพยาบาลหางดงจังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2 nd Ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
DeVito, J.A. (2003). Human communication: The Basic Course. (9 th ed.). Pearson.
Nehlin, C., Gronbladh, L., Fredriksson, A., & Jansson, L. (2012). Brief alcohol intervention in a psychiatric outpatient setting: a randomized controlled study. Addiction Science & Clinical Practice, 7(1), 1-8.
Stinnet, N., Knaub, P. K., O’Neal, S., & Walters, J. (1983). Perceptions of Panamanian women concerning the roles of women. Journal of Comparative Family Studies, 14(2), 273-282.
World Health Organization (2009). Global health Risks. Geneva, WHO.
World Health Organization. (27 September 2018). Global status report on alcohol and health 2018. World Health Organization. https://www.who.int/publications/i/item/9789241565639