ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้น

Main Article Content

สิรินาถ บุญทวี
หรรษา เศรษฐบุปผา
ขวัญพนมพร ธรรมไทย

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้น


                วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นสมาธิสั้น 28 คน ที่มีพฤติกรรมติดเกม สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (14 คน) และกลุ่มควบคุม (14 คน) โดยวิธีจับสลาก  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 - 45 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบทดสอบการติดเกม (GAST) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่า ที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติค่า ที ชนิด 2 กลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


                ผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการติดเกมของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)


                สรุป : โปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ช่วยลดพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้นได้ จึงควรนำไปใช้เป็นทางเลือกในการบำบัดวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมติดเกม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญานิกา ศรีวิชัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ติดเกม. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 114-121.

ชาญวิทย์ พรนพดล, บัณทิต ศรไพศาล, กุสุมาวดี คำเกลี้ยง, และเสาวนีย์ พัฒนอมร. (2557). การพัฒนาแบบทดสอบการติดเกม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(1), 3-14.

ดุษเดือน ตั้งอารีอรุณ, ชาญวิทย์ พรนภดล, และ ฑิฆัมพร หอสิริ. (2564). ความชุก ปัจจัยเกี่ยวข้องและการสูญเสียหน้าที่ของภาวะติดเกมในเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(2), 93-104.

นุษณี เอี่ยมสอาด, ชมชื่น สมประเสริฐ, และ สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 120-135.

ปวีร์ ม่วงชื่น. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายตามทฤษฏีการกำกับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ธนิษฐา พิพิธวิทยา และรัชนีกร อุปเสน. (2562). ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. พยาบาลสาร, ฉบับพิเศษ, 60-69.

ธันยพร บัวเหลือง, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, และ จินห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ ต่อความตั้งใจในการหยุดดื่มและพฤติกรรมการดื่มของผู้ชายแบบเสี่ยง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19, 119-128.

พิชัย แสงชาญชัย, ดรุณี ภู่ขาว, สังวร สมบัติใหม่, ณัฐนาถ สระอุบล, สายรัตน์ นกน้อย, และ เพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2553). คู่มือสำหรับผู้อบรมการให้คำปรึกษาและบำบัดเพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา. วนิดาการพิมพ์.

ไพรัช ฐาปนาเดโชพล. (2555). โรคความผิดปกติของการเสพติดอินเตอร์เน็ต. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 12(3), 599-608.

ลลิต์ภัทร ช่วยคุ้ม. (2561). มาตรการทางอาญาในการบำบัดฟื้นฟูและป้องกันการติดเกมในเด็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุนทรี ศรีโกไสย, อรพรรณ แอบไธสง, ชฎาพร คำฟู, และ อนงค์พร ต๊ะคำ. (2566). เปรียบเทียบผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมโปรแกรมการบำบัดแนวซาเทียร์โมเดล และโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับแก้ปัญหาในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเกมออนไลน์. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 37(1), 17-48.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม : ผลกระทบและการป้องกัน Game Addiction Behaviors: Impacts and Preventions. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(6), 871-879.

อธิษฐ์ ทวีธนธาตรี, พิชญาณี พูนพล, และ อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2564). ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษากลุ่มด้วยวิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 28(2), 1-18.

อรรถพล ยิ้มยรรยง และ เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2564). ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมอย่างย่อโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการเสพแอมเฟตามีนระยะฟื้นฟูของวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1). 71-83.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. วิทยพัฒน์.

Ariyo, J., O., Akinnawo, E.,O., & Akpunne. B., C. (2020). Predictive Influence of Internet Gaming Addiction on Severities of Attention Deficit Hyperactivity Disorder Among Nigerian Adolescents. International Journal of Progressive Sciences and Technologies, 22(2), 44-59.

Beck, J. S. (1995). Cognitive therapy: Basics and beyond. Guilford Press.

Bumozah, H. et al. (2022). Association Between Internet Gaming Disorder And Attention Deficit Hyperactivity Disorder: A Narrative Review, Journal of community medicine and health solutions, 3, 69-75.

Carli, V., Durkee, T., Wasserman, D., Hadlaczky, G., Despalins, R., Kramarz, E., et al. (2012). The association between pathological internet use and comorbid psychopathology: A systematic review. Psychopathology, 46(1), 1-13.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

D’Amico, E., Parast, L., Shadel, W., Meredith, L., Seelam, R., & Stein, B., (2019). Brief motivational interviewing intervention to reduce alcohol and marijuana use for at-risk adolescents in primary care. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 86(9), 775-786.

Hettema, J., Steele, J., &Miller, W., (2005). Motivational interviewing. Annual Review of Psychology, 1, 91-111.

Dieris-Hirche, J., Pape, M., Theodor te Wildt, B., Kehyayan, A., Esch, M., Aicha, S., et al. (2020). Problematic gaming behavior and the personality traits of video gamers: A cross-sectional survey. Computer in Human Behavior, 106, 1-11.

Lindenberg, K., (2022). Effectiveness of cognitive Behavioral Therapy-Based Intervention in Preventing Gaming Disorder and Unspecified Internet Use Disorder in Adolescents. JAMA Network Open, 5(2), 1-14.

Koepp, D. M., Harper, J. W., & Elledge, S. J. (1991). How the cyclin became a cyclin: regulated proteolysis in the cell cycle. Cell, 97(4), 431-434.

Mathews, C. L., Morrell, H. E. R., & Molle. J.E. (2018). Video game addiction, ADHD symptomatology, and video game reinforcement. The American Journal of Drug and Alcohol Abuse, 20(1), 1-10.

Miller, W. R. (2004). Motivational interviewing in the service of health promotion. Art of Health Promotion in American Journal of Health Promotion, 18, 1-10.

Miller, W. R., & Rollnick, S. (2002). Motivational interviewing. New York: Guilford Press.

Miller, W. R., & Rose, G. S. (2009). Toward a theory of motivational interviewing. American psychologist, 64(6), 527.

Prochaska, J. & Di Clemente, C. (1982). Transtheoretical therapy: toward a more integrative model of change, Psychotherapy: theory, research, and practice, 19, 276-288.

Rollnick, S., & Miller, W. (1995). What is motivational interviewing? Behavioural and cognitive Psychotherapy, 23(4), 325-334.

Verma, et al. (2021). Gaming Addiction in Children and Adolescents with Attention-Deficit Hyperactivity Disorder and Disruptive Behavior Disorder, 2022. Wolters Kluwer-Medknow, 6(2), 149-154.