ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี (generation Z) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ก้องกฤษฎากรณ์ ชนแดง
สุมิศา กุมลา
กานต์ตริน ศรีสุวรรณ
เกษร สายธนู

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณลักษณะ การปรับตัว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี (generation Z) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


               วิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงทำนาย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาคณะต่าง ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 150 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2) แบบสอบถามคุณลักษณะของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี 3) แบบสอบถามการมองโลกทางบวก 4) แบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเอง 5) แบบสอบถามการปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


               ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีคุณลักษณะของความเป็นนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซีในระดับปานกลางขึ้นไป และมีการปรับตัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (mean = 3.59, S.D.= 0.54) ด้านที่มีการปรับตัวได้ดีที่สุดคือ ด้านความผูกพันกับสถานศึกษา (mean = 3.89, S.D.= 0.73) และด้านที่มีการปรับตัวได้น้อยที่สุดคือ ด้านอารมณ์ (mean = 3.40, S.D.= 0.77) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายการปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แก่ การตระหนักรู้ความมั่นใจในตนเอง มีน้ำหนักในการทำนายสูงสุด (Beta = .350) รองลงมาคือการมองโลกทางบวก (Beta = .170) และการตระหนักรู้ในการประเมินตนเองตามความเป็นจริง (Beta = .165) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนการปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 25.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               สรุป : จากผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนและส่งเสริมเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ความมั่นใจในตนเอง การตระหนักรู้ในการประเมินตนเองตามความเป็นจริง และการมองโลกทางบวก ของนักศึกษา ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยทำให้การปรับตัวของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นซี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดีขึ้น ส่งผลให้นักศึกษาเจนเนอเรชั่นซีเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ และสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). รายงานงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม จำกัด.

จุฑามาศ พงษ์สวัสดิ์. (2563). การปรับตัวในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา การเรียนการสอนภาษารัสเซียในโครงการรัสเซียศึกษา [ภาคนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐวุฒิ ศรีวัฒนาวานิช. (2556). การปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวนธน บุญลือ, ธีราพร สุภาพันธุ์, น้องเล็ก คุณวราดิศัย, สุทธาสินี สุวรรณกุล, อุไรวรรณ อกนิตย์, ฑิภาดา สามสีทอง, มานิตย์ แซ่เตียว, พัชรี พรรณพานิช, และ จิตตวีร์ ภัทรวัชช์รวีร์. (2565). การคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 5(2), 114-124.

ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงลักษณ์ วิชัยรัมย์, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ชนัดดา แนบเกษร, และ เวทิส ประทุมศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวด้านจิตสังคมและการมองโลกทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26 (2), 65-75.

นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล, กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา และนรักษ์ ชาติบัญชาชัย. (2563). จิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: สยามทองดิจ.

นุชนาถ อูมูดี, พวงสร้อย วรกุล, บุญโรม สุวรรณพาหุ และจิระวัฒน์ ตันสกุล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(3), 34-48.

พรพรรณ บัวทอง. (2557). สถานการณ์ในการทำงาน และลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์ของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรา รุ่งสันเทียะ. (2559). อิทธิพลของการมองโลกในแง่ดีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยมีกลวิธีในการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรสื่อของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และภาวดี ญาติคำ. (2560). สภาพการณ์ปัญหาและแนวทางในการปรับตัวของผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูเด็กเจนเนอเรชั่นซี (Generation Z) ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0" (Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0). (น. 1409-1418). https://repository.rmutr.ac.th/ bitstream/handle/ 123456789/780/rmutrconth_134.pdf.

เพ็ญนภา กุลกานต์สวัสดิ์. (2014). การตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีเผชิญปัญหากับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติด. Chulalongkorn Medical Journal, 58(3), 327-338.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจนเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 364-373.

เรวัต เงินเย็น. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. Graduate School Journal. 8 (18), 183-188.

วลัยพร ศรีรัตน์, สุขุม เฉลยทรัพย์ และชนะศึก นิชานนท์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 408-422.

ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และโอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2563). รูปแบบการดาเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นแซท. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 23-43.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (20 ตุลาคม 2564). สุขภาพจิตและวัยรุ่น. https://new.camri.go.th.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (10 ธันวาคม 2564). ระบบสถิติทางเวชระเบียนจำนวนประชากรแยกตามอายุทั่วประเทศ. https://stat.bora.dopa.go.th.

Bandura, A. (1997). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Carver, CS., & Scheier, MF. (2003). Three human strengths. In LG. Aspinwall & U. M. Staudinger (Eds), A psychology of human strengths; Fundamental questions and future direction for a positive psychology. (pp. 87-102). American Psychological Association.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed). Academic Press.

Ganguli, R., Padhy, S.C., & Saxena, T. (2022). The Characteristics and Preferences of Gen Z: A Review of Multi-Geography Findings. UP Journal of Organizational Behavior, 21(2), 79-98.

Gawda, B. (2022). Multitasking among Modern Digital Generations Y and Z. Journal of Modern Science TOM, 49(2), 421-430.

Goleman, D. (1998). Emotional Intelligence: Why it matter more than IQ. Bantam Book.

Scheire, M. F., & Carver, C.S. (1985). Optimism, Coping, and Health: Assessment and Scheire implications of generalized outcome expectancies. Health Psychology, 4(3), 219-247.