การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท
วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการบำบัดในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบำบัดทางจิตสังคม 2) พัฒนาโปรแกรม 3) ทดสอบโปรแกรม และ 4) ประเมินผลโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ จำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 14 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบการวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เทคนิคการสรุปสะสม
ผลการศึกษา : 1) สถานการณ์ปัญหา พบว่า โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการกำเริบได้ง่าย การดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ ซึ่งการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลเพียงพอ จึงต้องใช้การบำบัดทางจิตสังคมร่วมด้วย รวมถึงควรต้องมีการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการบำบัดรักษาในแบบใหม่ ๆ 2) โปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชุดกิจกรรม 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทภายในกลุ่มทดลองทั้งก่อนการทดลอง (M = 1.93, S.D. = 0.83) หลังการทดลอง (M = 0.64, S.D. = 0.74) และติดตามหลังจำหน่าย 4 สัปดาห์ (M = 0.64, S.D. = 0.74) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมทั้งก่อนการทดลอง (M = 2.07, S.D. = 0.92) หลังการทดลอง (M = 1.57, S.D. = 1.22) และติดตามหลังจำหน่าย 4 สัปดาห์ (M = 2.00, S.D. = 1.47) พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลประเมินโปรแกรมพบว่า พยาบาลจิตเวชและญาติผู้ป่วยมีความพึงพอใจในโปรแกรมที่พัฒนา
สรุป : โปรแกรมที่พัฒนานี้ทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภทลดลง จึงเป็นรูปแบบการบำบัดรักษาอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต. (2560). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์). กรมสุขภาพจิต.
กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือคู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต.
กัลยา ตาสา. (2561). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย(เอกสารประกอบการบรรยาย). ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
บูคอรี มะมิง และวินีกาญจน์ คงสุวรรณ. (2566) รูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,15(1), 62-97.
พยุงศักดิ์ ฝางแก้ว และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 53-69.
พัชรินทร์ อรุณเรือง. (2563). การพัฒนาต้นแบบและผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดที่เน้นการแสดงออกต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 39-54.
เพชรี คันธสายบัว, วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, กฤตนัย แก้วยศ, และวีระ เนริกูล. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(2), 16-28.
โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์. (2564). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2564. โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์.
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. (2563). คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต. โรงพยาบาลสวนสราญรมย์.
วัชราภรณ์ ศรีเรือน, ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, และวรนุช กิตสัมบันท์. (2563). ประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะอาการนำของโรคจิตเภท: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. พยาบาลสาร, 47(4), 76-87.
วรรณวิภา ชำนาญ, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และสมบัติ สกุลพรรณ์. (2560). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับความโกรธสำหรับผู้ป่วยจิตเภท: กรณีศึกษาโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. พยาบาลสาร, 44(3), 125-133.
สุกุมา แสงเดือนฉาย, สำเนา นิลบรรพ์, และวัชรี มีศิลป์. (2563). คู่มือ: การบำบัดความคิดและพฤติกรรมในผู้ติดยาและสารเสพตดิ ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติแห่งชาติบรมราชชนนี.
สุจรรยา โลหาชีวะ. (2561). ความเครียดและปัจจัยที่ก่อให้เกิดควมเครียดในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เจ็บป่วยครั้งแรก: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(1), 60-67.
สุริยา ฟองเกิด, สุนันท์ สินซื่อสัตย์กุล, และสืบตระกูล ตันตลานุกุล. (2563). นวัตกรรมการบริการสุขภาพ: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 20(2), 10-22.
อรพิน สถิรมน. (2562). พฤติกรรมบำบัด. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
อัญชลี วิจิตรปัญญา และมยุรี กลับวงษ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกการควบคุมตนเองในผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(1), 120-147.
Beck, J. S. (1995). Cognitive Therapy: Basic and Beyond. Guilford Press.
Beck, R., & Fernndes, E. (1998). Cognitive-Behavioral Therapy in the Treatment of Anger: A Meta-Analysis. Cognitive Therapy and Research, 22(1), 63-74.
Chan, H. Y., Lu, R. B., Tseng, C. L., & Chou, K. R. (2003). Effectiveness of the anger control program inducing anger expression in patient with schizophrenia. Archives of Psychiatric Nursing, 17(2), 88-95.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Delaney, M. (2011). Perceptions of cause and control of impulse control behaviours in people with Parkinson's disease. British Journal of Health Psychology, 17(3), 522-535.
Dunbar, B. (2004). Anger Management: A Holistic Approach. Journal of the American Psychiatric Nurses Association, 10(1), 16-23.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An Applied Reference Guide to Research Designs: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods (2nd ed.). SAGE.
Glancy, G., & Saini, M. A. (2005). An evidence-based review of psychological treatments of anger and aggression. Brief Treatment and crisis Intervention, 5(2), 229-248.
Hakvoort, L., Bogaerts, S., Thaut, M. H., & Spreen, M. (2015). Influence of music therapy on coping skills and anger management in forensic psychiatric patients: an exploratory study. International Journal of Offender Therapy and Comparative Criminology, 59(8), 810-836.
Han, D. H., Pack, D. B., Na, C., Bail, S. K., & Yung, S. L. (2004). Association of aggressive behavior in Korean male schizophrenic patients with polymorphisms in the serotonin transporter promoter and catecholamine-O-methyltransferase genes. Psychiatry Research, 129(1), 29-37.
Martha, L. C. (2000). Understanding and treating violence psychiatric patients. American Psychiatric Association.
Novaco, R. W. (1975). Anger control: The development and evaluation of an experimental treatment. Lexington.
Smith, D. (2006). Exploring Innovation. McGraw-Hill Education. Stanley, S., & Schwetha, S. (2006). Integrated Psychosocial Intervention in Schizophrenia: Implications for Patients and Caregivers. Intonational Luomala of Psychosocial Rehabilitation, 10(2),13-128.
Vashishth, M. (2014). Role of IT in HRM: Opportunities and Challenges. Indian Journal of Research, 3(4), 159-160.
Walker, S. (2014). Psychosocial interventions in mental health nursing. Learning Matters.
Yudofsky, S., Silver, J. M., & Jackson, W. (1986). The overt aggressive scale for the objective rating scale of verbal and physical aggression. American Journal of Psychiatry, 143(1), 35-39.