ความไวของยุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) ต่อสารเคมีกลุ่ม Pyrethriod ในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ ปี 2558 และ 2559

ผู้แต่ง

  • กาญจนา โกติทิพย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • เจนจิรา จันสุภา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • สุธาสินี มาแดง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • กานต์ธีรา เรืองเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • วรรณภา สุวรรณเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ยุงลายบ้านอิจิปไตย์, ความต้านทาน, สารเคมี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับความไวของยุงลายบ้านต่อสารเคมีที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน ระหว่างปี 2558 และ 2559 โดยทำการเก็บลูกน้ำยุงลายบ้าน 11 หมู่บ้านใน 8 จังหวัดได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ และน่าน  นำลูกน้ำยุงลายบ้านที่เก็บได้มาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในห้องทดลองจนเป็นตัวเต็มวัย ทำการทดสอบต่อสารเคมี กลุ่ม Pyrethroid    4 ชนิด ได้แก่ deltamethrin, lambda-cyhalothrin, alpha-cypermethrin และ bifenthrin ตามวิธีมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก  ผลการศึกษา พบว่า ยุงลายบ้านจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ ต้านทานต่อสาร, Bifenthrin, Deltamethrin และ Lambda-cyhalothrin ยุงลายบ้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง และเชียงใหม่ เริ่มต้านทานต่อสาร  Alpha-cypermethine, Bifenthrin และ Deltamethrin แต่ว่ายุงลายบ้านจังหวัดลำปาง และลำพูนยังมีความไวต่อสาร Deltamethrin และ Alpha-cypermethine การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายุงลายบ้านมีความไวต่อสารเคมีกลุ่ม Pyrethroid แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นควรมีการประเมินระดับความไวของยุงพาหะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้สารเคมีควบคุมยุงพาหะอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-03

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป