การเปรียบเทียบความไวและความจำเพาะต่อรอยโรคขั้นต่ำและรอยโรคขั้นสูงของปากมดลูกระหว่างการตรวจ Pap smearกับการตรวจ colposcopyโดยยืนยันด้วยผลการตรวจพยาธิวิทยา

ผู้แต่ง

  • วิชาน แก้วเขียว โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตรวจ แป็บสเมียร์, คอลโปสโคป, รอยโรคขั้นต่ำ, รอยโรคขั้นสูง, ค่าความไว, ค่าความจำเพาะ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไว และความจำเพาะต่อรอยโรค Low grade squamous intraepithelial lesion(LSIL)กับ High grade squamous intraepithelial lesion (HSIL) ของการทำ Pap smearและ Low grade lesion(LGL)กับ High grade lesion(HGL)ของการทำ colposcopy   โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกผลการทำPap smearผิดปกติ  ผลตรวจ ของ colposcopy และผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาของสตรีที่มารับการตรวจวินิจฉัย และรักษารอยโรค ในคลินิก colposcopy  โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2557    ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2560 จำนวน 160 ราย  แล้วนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา    

                 ผลการศึกษาพบว่า HSILมีความไวและความจำเพาะสูงกว่าLSIL(ร้อยละ68.6,84.8 และ     ร้อยละ51.6,80.0) , LGL มีความไวสูงแต่ความจำเพาะต่ำกว่า HGL(ร้อยละ77.4,72.7 และ                  ร้อยละ68.6,78.8 ) ในรอยโรคขั้นต่ำ colposcopy มีความไวสูง (ร้อยละ77.4,72.7) แต่ความจำเพาะ       ต่ำกว่า Pap smear  ( ร้อยละ51.6, 80.0 )  ในรอยโรคขั้นสูง Pap smear  มีความไวไม่แตกต่างกัน       (ร้อยละ68.6) แต่มีความจำเพาะสูงกว่า colposcopy (ร้อยละ84.8, 78.8 ) พบว่าการมีปากมดลูกอักเสบมีผลทำให้ความไวของ LSILและ LGL ลดลง  จากการศึกษานี้เสนอแนะให้กลุ่มที่มีความเสี่ยง ควรมีการตรวจ Pap smear อย่างสม่ำเสมอทุกปี นอกจากนี้ผู้มีอาการอักเสบของปากมดลูกควรได้รับการรักษาก่อนการตรวจ     คัดกรองเสมอ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-03

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป