การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร กรณีรถกระบะชนต้นไม้ เสียชีวิต 6 ศพ จังหวัดลำพูน วันที่ 8 -10 ตุลาคม 2559
คำสำคัญ:
การสอบสวนบาดเจ็บจากจราจรทางถนน, ทีมสอบสวนสหสาขาลำพูนบทคัดย่อ
วันที่ 8-10 ตุลาคม 2559 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสหสาขา จังหวัดลำพูน ได้ลงสอบสวนอุบัติเหตุหมู่รถกระบะชนต้นไม้ข้างทางบนทางหลวงหมายเลข 11 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 523 ถนนเชียงใหม่- ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่ออธิบายเหตุการณ์ ค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตและเพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยการรวบรวมจากเอกสารทางการแพทย์ สำรวจสถานที่เกิดเหตุการณ์สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์และญาติผู้ประสบเหตุ วิเคราะห์หาปัจจัยที่นำไปสู่การบาดเจ็บด้วยวิธีการของ Haddon matrix ผลการสอบสวนพบว่า อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น จากการที่รถกระบะชนต้นไม้
มีผู้ประสบเหตุ 6 ราย เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 4 ราย เสียชีวิตในรถ 3 ราย กระเด็นออกมานอกรถ1 ราย บาดเจ็บสาหัส
2 รายส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลและได้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย รวมผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ 6 ราย เพศหญิง 4 ราย เพศชาย 2 ราย สัญชาติไทย อายุระหว่าง 34 – 52 ปี อายุเฉลี่ย 47 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าสาเหตุการเสียชีวิต ของผู้ประสบเหตุทั้ง 6 ราย เป็น severe head injury and injury multiple organs ซึ่งมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอบริเวณใบหน้า บริเวณในช่องอก ช่องท้องกระดูกสันหลัง ช่องเชิงกราน ความรุนแรงของการบาดเจ็บพบว่า ส่วนใหญ่บาดเจ็บรุนแรง (severe symptom) สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดจากความประมาท ขับรถเร็วโดยขับออกจากเลนที่วิ่งออกมาทางด้านซ้ายที่เป็นไหล่ถนนด้วยความเร็วสูง และคาดว่าเกิดอาการหลับใน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายต่อคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน จังหวัดลำพูน ให้กำหนดเป็นมาตรการเพิ่ม คือตั้งป้ายเตือนลดความเร็วเพิ่ม ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตัดแต่งต้นไม้ การจัดการให้มีจุดพักรถ สำหรับการเดินทางในเส้นทางที่เป็นเส้นทางตรง การสื่อสารความเสี่ยงเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันไม่ให้มีการบรรทุกผู้โดยสารในตอนท้ายของรถกระบะที่ไม่มีโครงสร้างป้องกันอันตรายจากการกระเด็นออกนอกรถ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกเกี่ยวกับ
จุดเสี่ยงและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและครบวงจร
References
(Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยา โรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
2.ณัฐกานต์ ไวยเนตร. รายงานผลการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรบนถนน กรณีศึกษารถประจำทาง และรถบัสเช่าเหมาลำ ระหว่างเดือน มกราคม 2549 - มกราคม 2551. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 39: 496-8.
3.พิชัย ธานีรฌานนท์. ถนนปลอดภัยด้วยหลักวิศวกรรม ( Engineering Safer Roads).สงขลา:บริษัท ลิมบราเดอร์การพิมพ์จำกัด.
4.Glennon. J. C. (1987). Effect of Pavement/Shoulder Drop-offs on Highway Safety in state of the
Art Report: Number 6: Relationship between Safety and Key Highway Features.Transportation. Research Board Ltd., Washington,D.C.,pp:1-12.
5. World Health Organization. (2006). Road Traffic Injury Prevention Training Manual. World Health Organization, Geneva.
6. Haddon,W. (1970). The Haddon Matrix [online]. [cited 2017,November] Available from: URL:
www.genderandhealth.ca/en/modules/trauma/trauma-injury-and-prevention-03.jsp