ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเขตชุมชนใกล้เมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
โรคซึมเศร้า, ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า, ภาวะซึมเศร้าในโรคเรื้อรัง, โรคซึมเศร้าในเพศหญิงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัจจัยสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในเขตชุมชนใกล้เมือง
อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา (Cross-sectional Descriptive Study) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD-10 ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างช่วงเดือน ตุลาคม 2556 – กันยายน 2559 จำนวน 405 ราย ใช้เครื่องมือแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่าโรคซึมเศร้า ในกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอสันทราย พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2.6 เท่า (293:112) และพบในกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 74.3 (301/405 ราย) พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคประจำตัวเรื้อรัง ร้อยละ 40.5 (164/405 ราย) มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เอื้อต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ปัญหาครอบครัว การตั้งครรภ์ ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการป้องกัน คือการส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพและการดูแลกันในชุมชน การค้นหาเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สนับสนุนกิจกรรมในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ โครงการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคซึมเศร้า ที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และเพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
2.เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554; 56(2): 103-116.
3.นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. มฉก.วิชาการ. 19(38). 105-118.
4.นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 57(4): 439-446.
5.โรงพยาบาลมนารมย์. โรคซึมเศร้า. [สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.manarom.com/sara/depression.html.
6.สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. อารมณ์ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2543; 15(1): 23-7.
7.อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 31(1): 25-33.
8.Lotrakul M. Suicide in Thailand during the period 1998-2003. Psychiatry Clin Neurosci. 2006; 60(1): 90-5.
9.Lotrakul M. Suicide in the north of Thailand. J Med Assoc Thai. 2005; 88(7): 944-48.
10.National Mental Health Survey: Thailand 2008. The Prevalence of Major Depression Disorders in Thailand. [Cited 9 April 2017]; available from: URL: https://www.health.gov.au/internet/main/publishing.nsf/content/B090F03865A7FAB9CA257C1B0079E198/$File/rep13.pdf.
11.Siam health. สาเหตุของโรคซึมเศร้า. [สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2560]; แหล่งข้อมูล: URL:https://www.siamhealth.net/public.