การควบคุมบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
การควบคุมบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลสิทธิ
จ่ายตรง ของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์และหาแนวทางการพัฒนาระบบฯ เป็นการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในปี 2559 และใช้แบบสอบถามปลายเปิดทำการสอบถามความคิดเห็นบุคลากรจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสพัฒนา เพื่อสรุปประเด็น นำเสนอในที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจ ให้ร่วมกันวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า รายการที่ถูกปฏิเสธการจ่ายจากกรมบัญชีกลางที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การไม่พบรหัสยาในรายการยาที่ รพ. แจ้งไว้กับกรมบัญชีกลาง จำนวนครั้งของการสั่งยาไม่เท่ากับจำนวนครั้งของการจ่ายยา และวันที่และเวลาของการเก็บค่ารักษาพยาบาลอยู่นอกช่วงมีสิทธิเบิก จากการประชุมเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสรุปแนวทางได้ดังนี้ การพัฒนากระบวนการสื่อสาร ระบบทะเบียนบัญชีลูกหนี้รายตัว ระบบการควบคุม กำกับติดตามกระบวนการทำงานระหว่างหน่วยงาน เป็นต้น
การวางแผนการพัฒนาองค์ความรู้ของนักบัญชีและผู้เกี่ยวข้อง จัดทำคู่มือการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยสิทธิจ่ายตรง ผลการประเมินจำนวนหนี้สูญของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ก่อนและหลังการพัฒนาการควบคุมบัญชีลูกหนี้สิทธิจ่ายตรง พบว่าอัตราการปฏิเสธการจ่ายจากกรมบัญชีกลางลดลงร้อยละ 30.90 จาก 267,478.78 บาท เหลือ 184,826.48 บาท เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ข้อเสนอแนะควรมีการติดตามผลการปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการ PDCA (Plan Do Check Act cycle) อย่างสม่ำเสมอ และมีการขยายผลโดยนำกระบวนการพัฒนาระบบฯนี้ไปใช้ในการเรียกเก็บรายได้ในสิทธิอื่นๆ เพื่อให้มีรายได้ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น
References
2.ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. 2556. รายงานประจำปีฝ่ายการเงินและบัญชี. เอกสาร
ไม่เผยแพร่.
3.ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. 2557. รายงานประจำปีฝ่ายการเงินและบัญชี. เอกสาร
ไม่เผยแพร่.
4.ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. 2558. รายงานประจำปีฝ่ายการเงินและบัญชี. เอกสาร
ไม่เผยแพร่.
5.ฝ่ายการเงินและบัญชี โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. 2559. รายงานประจำปีฝ่ายการเงินและบัญชี.เอกสาร
ไม่เผยแพร่.
6.วาสนา ภูมิคอนสาร. (2557). การจัดการลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลด้วยโปรแกรม “บริหารลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาล”.การนำเสนอผลงานเด่น (Best practice/ CQI) โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. เข้าถึงได้จาก http://cpho.moph.go.th/wp/wp-content/uploads/2014/04/17การจัดการลูกหนี้-รพ.คอนสาร.pdf เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2559.
7.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ.
8.Deming, W. Edwards. (1989). Out of the Crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology Press.