ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วัชราพร สนิทผล โรงพยาบาลลำพูน
  • นันธิดา จาระธรรม โรงพยาบาลลำพูน
  • จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ โรงพยาบาลบ้านธิ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการควบคุมโรค, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นโรคที่สามารถชะลอความเสื่อมของโรคได้โดยการปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3 และ 4 อายุ 35–70 ปี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนมารักษาที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน เดือน ก.พ. – พ.ค. 2560 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมควบคุมโรค เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมควบคุมโรคสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมควบคุมโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนมีพฤติกรรมควบคุมโรคดีขึ้น ดังนั้นจึงควรนำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมควบคุมโรคของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
กลุ่มนี้ต่อไป

References

1.กลุ่มงานสารสนเทศโรงพยาบาลลำพูน. (2558). รายงานสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน.

2.กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมป์.

3.ชุษณา สวนกระต่าย และธานินทร์ อินทรกำธรชัย. (2549). Update in problem-based medical practice. กรุงเทพฯ : คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4.ทิพย์ศุภางค์ สุวรรณศร. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวาน โรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

5.นันทกา คำแก้ว. (2547). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเริมสุขภาพในผู้สูงอายุไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6.ปิ่นแก้ว กล้ายประยงค์. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมพฤติกรรมการ ปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

7.พนิดา โยวะผุย. (2551). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

8.พิมผกา ปัญโญใหญ่. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

9.มาลินี ศรีคำม้วน. (2548). โรคไตเรื่องใกล้ตัว. กรุงเทพฯ : ใกล้หมอ.

10.วราลี วงศ์ศรีชา. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อป้องกันโรคเบาหวานในเขตพื้นที่โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

11.วัชราพร สนิทผล. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรัง แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน.

12.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). อัตราการป่วยโรคไตเรื้อรัง ปี 2556. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

13.สมาคมโรคไตเรื้อรังแห่งประเทศไทย, (2558). คำแนะนำสาหรับดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย).

14.สุลี แซ่ซือ. (2546). ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

15.อนุตตร จิตตินันทน์. (2547). Overview of pre-end stage kidney disease management in chronic kidney disease patients. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง (บรรณาธิการ), Nephrology. (หน้า 1341-1356). กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

16.อรนุช เขียวสะอาด. (2544). ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

17.อุบล จิบสมานบุญ. (2544). การรับรู้สมรรถนะในตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

18.อรรถพงศ์ วงศ์วิวัฒน์. (2550). การดูแลโรคไตเรื้อรังในปัจจุบัน.Update on CKD Prevention: Strategies and Practical Points. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

19.Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

20.Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York : W. H. Freeman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป