การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เขตชุมชนใกล้เมือง

ผู้แต่ง

  • งามพิศ จันทร์ทิพย์ โรงพยาบาลสันทราย เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive Study) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากหญิงวัยรุ่น อายุ 10-19 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2559 จำนวน 238 ราย          ใช้เครื่องมือ คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า จำนวนสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 12 ของสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมดในอำเภอสันทราย ช่วงอายุของสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนใหญ่มีอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 84.5 (201/238) อายุเฉลี่ย 17 ปี พบว่าทุกรายมีแฟนหรือคู่นอนแต่ร้อยละ 90% (214/238)ไม่มีความรู้เรื่องเพศศึกษา ไม่มีการป้องกันตนเอง และไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง

ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมการติดเชื้อ HIV/AIDS จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าปัจจัยเสี่ยงในการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คือการขาดความตระหนักเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและการขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษา

References

1.กุศลาภรณ์ วงษ์นิยม และสุพร อภินันทเวช. (2557). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ตั้งครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 195-205.

2.บุรเทพ โชคธนานุกุล และ กมลชนก ขำสุวรรณ. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น วารสารประชากร. 2559; 4(2), 61-79

3.ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์ และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560) วัยรุ่นไทยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560; 28(2): 173-182

4.ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์และขวัญใจ เพทายประกายเพชร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง: แนวทางป้องกันสำหรับวัยรุ่นวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559; 32(2) 133-146.

5.เนตรชนก แก้วจันทา, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ยุพา ถาวรพิทักษ์,นิลุบล รุจิรประเสริฐ, อิงคฏา โคตรนารา, ชมพูนุท กาบคำบา. (2557). ความชุกของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 207-220.

6.ปัทมา ผ่องสมบูรณ์ และโสภิต จำปาศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดพิจิตร. วารสารสาธารณสุขล้านนา.2553; 3, 260-275.

7.มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น ตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 90-98.

8.ศิริวรรณ กำแพงพันธ์,ฐิตวี แก้วพรสวรรค์,สุพร อภินันทเวช. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมกับการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(3), 255-266.

9.สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

10.สุมาลัย นิธิสมบัติ. (2553). การตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา-บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

11.Department of Health. (2012). News reported child-birth from thai teenage pregnancy average 370 cases/day, then need to accelerate the network to solve the problem. [cited 2017 June]; Available from: http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=4855.

12.Figueiredo, B., Pacheco, A., Costa, R. (2007). Depression during pregnancy and the postpartum period in adolescents and adult Portuguese mothers. Arch Womens Ment Health, 10, 103-9.

13.Ginsburg GS, Baker EV, Mullany BC, Barlow A, Goklish N, Hastings R, et al. (2008). Depressive symptoms among reservation-based pregnant American Indian adolescents. Matern Child Health J, 12, 110-8.
14.Jutopama M. (2004). Psychological Counseling for Adolescent. Educational Burirum Rajabhat University, 2004.

15.Kerr LK, Kerr LD. (2001). Screening tools for depression in primary care. The Western Journal of Medicine, 175, 349-52.

16.Somphop Ruangtrakul. (2000). Addictive substance: silent catastrophe but preventable. First edition. Bangkok: Ruankaewkarnpim,125-9.

17.The U.S. National Library of Medicine. (2014). Adolescent pregnancy. . [cited 2017 June]; Available from :http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/articla/001516.htm.
Waraporn Boonyathan. (2007). Factors associated with adolescent pregnancy among adolescent primigavida attending antenatal care clinic at Samutsakhon Hospital [dissertation]. Bangkok: Mahidol univ.

18.World Health Organization. (2014). Adolescent pregnancy. . [cited 2017 June]; Available from: http://www.who.int/maternal_child_adolescent/topics/maternal/adolescent_pregnancy/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป