การประเมินผลการดำเนินงานตรวจสอบภายในด้านการเงินการบัญชี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน ปี 2559

ผู้แต่ง

  • วิไลพร ปารมี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
  • เจริญ มหาวงศ์ตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
  • ลักขณา คำพรหม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ตรวจสอบภายในด้านการเงินการบัญชี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานตรวจสอบภายในด้านการเงินการบัญชีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน ดำเนินงานระหว่างเดือน ตุลาคม 2558–กันยายน 2559 ผลการศึกษาพบว่า มีการดำเนินงานเหมาะสมตามองค์ประกอบการควบคุมภายในตามขั้นตอนระเบียบของทางราชการ ได้แก่ ด้านเงินสดและเงินฝากธนาคาร มีการทำบัญชีแยกประเภท ด้านทรัพย์สินมีการกำหนดมาตรฐานการดูแลป้องกันทรัพย์สินและจัดทำบัญชีทรัพย์สินอยู่ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนการใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน จำนวน 40 ราย พบว่า กลุ่มบุคลากรผู้รับผิดชอบงานดังกล่าวนี้มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตรวจสอบภายในด้านการเงินการบัญชีในภาพรวมระดับดีถึงระดับดีมาก โดยมีระดับคะแนนทัศนคติเชิงบวก (+) ที่มีต่อการดำเนินงานด้านการเงินการบัญชีอยู่ในระดับดี ในขณะที่ค่าความสัมพันธ์ทางสถิติ (r) ระหว่างลำดับจำนวนเปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างประชากรที่ให้ข้อมูลในแต่ละหัวข้อคำถามในแบบสอบถามและบทสัมภาษณ์กับลำดับคะแนนทัศนคติความพึงพอใจมีค่าสูง โดยค่าความสัมพันธ์ทางสถิติ (r) อยู่ระหว่าง +0.3933ถึง +0.6696 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ +0.4965 แสดงถึง แนวโน้มความสัมพันธ์ของทัศนคติเชิงบวก (+) ของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการดำเนินงานตรวจสอบภายในด้านการเงินการบัญชีบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  

References

1.จรัสศรี จิตชัย. การตรวจสอบการเงินการบัญชีในระบบ GFMIS สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3; [Online] 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559]. แหล่งข้อมูล: URL: http://www.roiet3.go.th/index.php/2016-10-03-16-54-50/211-gfmis/

2.ชุติมา เที่ยงคำ. (2547). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักบัญชีและนักการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3.ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2539). เอกสารประกอบคำสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

4.บรรยง ตั้งวรธรรม. (2547). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท แคปปิตอลแมกซ์ จำกัด [วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: B & B Publishing.

6.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง. (2547). ความพึงพอใจในการทำงานของตำรวจกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

7.เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2542). การประเมินโครงการแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8.วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2541). การประเมินผลระบบปิด. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์.

9.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. มาตรฐานการตรวจสอบภายใน. กลุ่มตรวจสอบภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; [Online] 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 02 กันยายน 2560]. แหล่งข้อมูล: URL: http://www.senate.go.th/km_senate2/doc/57/k4.pdf/

10.สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ. (2545). ชุดวิชาการประเมินเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ.

11.Bryman, Alan, Cramer, Duncan. Quantitative Data Analysis with IBM SPSS 17, 18 and 19: A Guide for Social Scientists. New York: Rout ledge. ISBN978-0-415-57918-6 2011. [cited 2017, September 02]; Available from: URL : https://en.wikipedia.org/wiki/SPSS/

12.Sukanya Junhunee. CIPP Model 2015. [cited 2016, December 28]; Available from: URL: https://sukanya5581103069.wordpress.com/2015/11/05/cipp-model/html
William M.K. Trochim. Research Methods Knowledge Base 2006. [cited 2017, August 13]; Available from: URL: https://www.socialresearchmethods.net/kb/index.php/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป