ภาวะโภชนาการกับการเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลันในเด็กก่อนวัยเรียน ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปวิตรา ไพทอง ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน, เด็กก่อนวัยเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (ระยะเวลา 3 เดือน)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ อุบัติการณ์การเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับการเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ในเด็กชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง อายุ 1-4 ปี ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 215 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2560 โดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลน้ำหนัก และวัดส่วนสูงของเด็ก และแบบบันทึกอาการป่วยตามจำนวนครั้งที่เด็กป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ทดสอบความสัมพันธ์ Relative Risk (RR) และ 95% CI ผลการศึกษา พบว่า ภาวะโภชนาการ ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ พบเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อย ร้อยละ 11.20 และน้ำหนักน้อย ร้อยละ 5.10 ดัชนีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบเด็กเตี้ย ร้อยละ 19.10 คน และค่อนข้างเตี้ย ร้อยละ 13.00 และดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบเด็กท้วม ร้อยละ 4.20  ค่อนข้างผอม ร้อยละ 3.30 และผอมร้อยละ 0.5 อุบัติการณ์การเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน เด็กอายุ 1-4 ปี ในช่วง 3 เดือน (เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2560) พบว่า มีอุบัติการณ์ ร้อยละ 30.20 ต่อเดือน หรือป่วย 33 ครั้งต่อ 100 คนต่อเดือน โดยพบว่า เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย และน้ำหนักน้อย, เด็กที่ค่อนข้างเตี้ย  และเตี้ย, เด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างผอม และผอม มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสามารถนำไปวางแผนส่งเสริมโภชนาการ และหาแนวทางเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลันในเด็กก่อนวัยเรียน ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งต่อไป

 

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 [online] [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: https://fliphtml5.com/mofx/avog/basic/51-100

กษมา พุทธิสวัสดิ์, ธิติพร ลีลาเศรษฐ์ และจามรี ธีรตกุลพิศาล. (2552). ธรรมชาติของโรคหวัดในเด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดูในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 24(3), 260-264.

กนธีร์ สังขวาสี. (2555). ICD-10-TM บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทยเล่มที่ 1 ตารางจัดการโรคอังกฤษ-ไทย. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข, 308.

ชุติมา แซ่ย่าง, รัตนชฎาวรรณ อยู่นาค และนงนุช โอบะ. (2557). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้านโภชนาการของผู้ดูแลเด็ก และน้ำหนักตัวเด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ชนเผ่าม้ง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 8(1), 120–129.

ประสิทธิ์ เขจรจิตร, นิภาพร ชุติมันต์ และบังอร กุมพล. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการต่ำของเด็กวัยก่อนเรียนใน อําเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(3), 168-175.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโป่ง. (2559). รายงาน รบ 1ก ปี 2554-2558. โปรแกรม JHCIS.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโป่ง. (2560). ข้อมูลประชากร. โปรแกรม JHCIS.

ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง. (2556). สารสนเทศสุขภาพคนไทยในพื้นที่สูง 2556 [online] [สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: http://hhdc.anamai.moph.go.th/hi_info_kid/login.php.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทย. (2560). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. [online] [สืบค้นเมื่อ 24 พ.ย. 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.nso.go.th/sites/2014/

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการพัฒนาสู่องค์กรส่งเสริมเด็กไทยเติบโตเต็มศักยภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก, 3-6.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก, 27-49.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี [online] [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=46522%2520b5bd1e06d24a5bd81917257a93c.

สุจินดา ริมศรีทอง, สุดาพรรณ ธัญจิรา, อรุณศรี เตชัสหงส์. (2552). พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์, 70-96.

Janeway, C. A., Travers, P., Walport, M., & Shlomchik, M. J. (2012). Immunobiology: The Immune System in Health and Disease. 8th ed. New York, NY: Garland Science, 426-532.

Jareemit, D., Sreshthaputra, A., Yimprayoon, C., & Tantasavasdi, C. (2006). Respiratory diseases: the fatal risk caused by inappropriate design & operation of office buildings. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 4(2), 3-19.

Koch, A., Molbak, K., Homoe, P. et al. (2003). Risk factors for acute respiratory tract Infections in young greenlandic. American Journal of Epidemiology. 158(4), 374-384.

Kovesi, T., Gilbert, N. L., Stocco, C. et al. (2007). Indoor air quality and the risk of lower respiratory tract infections in young Canadian Inuit children. Canadian Medical Association. 177(2), 155-160.

Mungrue, K., Brown, T., Hayes, I., Ramroop, S., Thurston, P., & Pereira, L. P. (2009). Drugs in upper respiratory tract infections in pediatric patients in North Trinidad. Pharmacy Practice. 7(1), 29-33.

World Health Organization. (2014). Growth and Development. [cited 2017 Aug]; Available from: URL: http://www.who.int/nutrition/topics/growth_and_development/en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป